กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7895
ชื่อเรื่อง: การบริหารอัตรากำลังสายงานพยาบาลวิชาชีพ : โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manpower administration in nursing profession : a case study of Community Hospitals, Phayao Provincial Health Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนี สาแก้ว, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พยาบาล--อัตรากำลัง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำหนดแนวทางในการ บริหารอัตรากำลังสายงานพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา และ ( 2) สถานการณ์การบริหารอัตรากำลังสายงานพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบรวมทั้งการหาค่า ความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.862 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม–30 เมษายน 2556 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 251 คน ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง คือ โรงพยาบาลจุน โรงพยาบาลเชียงม่วน โรงพยาบาลดอกคำใต้ โรงพยาบาลปง และโรงพยาบาลแม่ใจ ได้รับข้อมูลแบบสอบถามที่สามารถใช้ได้ จำนวน 240 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.62 ของแบบสอบถามทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ เนื้อหาตามข้อเท็จจริงของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำหนดแนวทางบริหารอัตรากำลังสายงานพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา คือ ปัจจัยด้านนโยบายโดยภาพรวมมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารอัตรากำลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ r = 0.321 ปัจจัยด้านองค์กรและการจัดการโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารอัตรากำลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ r = 0.620 และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหาร อัตรากำลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ r = 0.335 และ (2) สถานการณ์การบริหาร อัตรากำลังสายงานพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา พบว่า หน่วยงานยังมีปัญหาเรื่องการจัดบุคลากรไม่เหมาะสมกับงาน ความรู้ ความสามารถ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรน้อย เนื่องจากภาระงานมาก การจ่ายค่าตอบแทนไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และมีการบริหารบุคลากรโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ข้อเสนอแนะควรให้หน่วยงานมีการจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยเปิดโอกาส ให้บุคลากรมีส่วนร่วมครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ การจัดบุคลากรเข้าท างาน การพัฒนากาลังคน การจูงใจ และ การบำรุงรักษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7895
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_137485.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons