Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนศักดิ์ สายจำปาth_TH
dc.contributor.authorกฤตเมธ ปากหวาน, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-17T09:02:57Z-
dc.date.available2023-07-17T09:02:57Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7902en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการกำหนดและดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาการใช้อำนาจราชการส่วนกลางในการกำหนดแนวทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) เสนอแนะแนวทางกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้กำหนดและรับนโยบาย กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้รับสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของรัฐ โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า (1) พัฒนาการการกำหนดและดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ เกิดขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยรัฐบาลได้จัดทำพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ในปี พ.ศ. 2546 ทำให้กระทรวงมหาดไทยออกโครงการประกันรายได้ผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากนั้นรัฐบาลได้ออกโครงการเพื่อสอดรับกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) และโครงการเงินช่วยเหลือการจัดการทำศพตามประเพณีของผู้สูงอายุ (เงินช่วยเหลือทำศพ) ซึ่งในขณะเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้จัดทํานโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุของตนเอง โดยเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ (2) การใช้อำนาจราชการส่วนกลางในการกำหนดแนวทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเครื่องมือที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีต้องนำนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุไปปฏิบัติ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก หนังสือราชการ โดยหน่วยงานราชการส่วนกลางจะจัดทําแนวทางและคู่มือการปฏิบัติให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สอง งบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีข้อจํากัดในการใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประการที่สาม บุคลากร หลังจากสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าจำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ (3) แนวทางการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจะสําเร็จเกิดขึ้นจาก 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก การกระจายภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องทบทวนบทบาทของตนเอง และให้ความสําคัญในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถจัดทําภารกิจที่ยังไม่ได้รับการถ่ายโอน โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะคิดค้นรูปแบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเฉพาะตัวตามบริบทของพื้นที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--ไทย--อุบลราชธานี--บริการสังคม.th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.titleกลไกรัฐส่วนกลางในการกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeCentral government mechanism of the elderly welfare policy : a case study of Ubon Ratchathani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were (1) to study the development of the formulation and implementation of social welfare policies for the elderly, (2) to study the use of central government authority in determining the guidelines of local administrative organizations and (3) to propose guidelines for decentralization of local administrative organizations regarding social welfare policies for the elderly, a case study of Ubon Ratchathani Province. This study was qualitative research that gathered data from documents and key informant interviews. It employs a purposive sampling method that includes policymakers and recipients, policy user groups, and those involved in receiving social welfare for the elderly. The interview forms served as the research tool, and the data was analyzed using descriptive analysis. The study found that (1) the development of the formulation and implementation of social welfare policies for the elderly occurred after the 1997 Constitution. The government passed the Elderly Act in 2003, causing the Ministry of Interior to issue the Elderly Income Insurance Program (Elderly Pension) in 2009. After that, the government has issued a project to be in line with the 2017 Constitution, which was the State Welfare Card program and the grant program for the management of traditional funerals for the elderly. At the same time, local government organizations in Ubon Ratchathani province had developed their own social welfare policies for the elderly that were based on the local context. (2) The use of central government powers in establishing guidelines for local government organizations leads to the implementation of three social welfare policies for the elderly in Ubon Ratchathani Province. Firstly, official correspondence: the central government organizations would prepare guidelines for local government organizations. Secondly, the budget: the local government organization with a limited budget must seek assistance from other relevant organizations. Thirdly, officers: the mission of the local government organization had grown bigger than the number of officers on duty after an aging society. (3) Guidelines for the decentralization of local administrative organizations regarding social welfare policies for the elderly would be successful based on two reasons. Firstly, with regards to the distribution of missions to local government organizations, central government agencies must review their roles and focus on transferring missions to local government organizations. Secondly, local governments can implement a mission that has not yet been transferred, whereby the local administrative organization will create a unique elderly social welfare model taking into cosideration the context of the areaen_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons