กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7902
ชื่อเรื่อง: กลไกรัฐส่วนกลางในการกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Central government mechanism of the elderly welfare policy : a case study of Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนศักดิ์ สายจำปา
กฤตเมธ ปากหวาน, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้สูงอายุ--ไทย--อุบลราชธานี--บริการสังคม.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการกำหนดและดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาการใช้อำนาจราชการส่วนกลางในการกำหนดแนวทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) เสนอแนะแนวทางกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้กำหนดและรับนโยบาย กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้รับสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของรัฐ โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า (1) พัฒนาการการกำหนดและดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ เกิดขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยรัฐบาลได้จัดทำพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ในปี พ.ศ. 2546 ทำให้กระทรวงมหาดไทยออกโครงการประกันรายได้ผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากนั้นรัฐบาลได้ออกโครงการเพื่อสอดรับกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) และโครงการเงินช่วยเหลือการจัดการทำศพตามประเพณีของผู้สูงอายุ (เงินช่วยเหลือทำศพ) ซึ่งในขณะเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้จัดทํานโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุของตนเอง โดยเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ (2) การใช้อำนาจราชการส่วนกลางในการกำหนดแนวทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเครื่องมือที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีต้องนำนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุไปปฏิบัติ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก หนังสือราชการ โดยหน่วยงานราชการส่วนกลางจะจัดทําแนวทางและคู่มือการปฏิบัติให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สอง งบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีข้อจํากัดในการใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประการที่สาม บุคลากร หลังจากสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าจำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ (3) แนวทางการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจะสําเร็จเกิดขึ้นจาก 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก การกระจายภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องทบทวนบทบาทของตนเอง และให้ความสําคัญในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถจัดทําภารกิจที่ยังไม่ได้รับการถ่ายโอน โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะคิดค้นรูปแบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเฉพาะตัวตามบริบทของพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7902
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons