Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorไพโรจน์ แก้วมณี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรเกตน์เก้า พัฒนากุล, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-20T03:35:23Z-
dc.date.available2022-08-20T03:35:23Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/790-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557th_TH
dc.description.abstractการศึกษามาตรการทางกฎหมายอาหาร GMOs ในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพ ข้อเท็จจริง และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกำกับดูแลอาหาร GMOs ของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาถึงแนวคิด มาตรการกำกับดูแลอาหาร GMOs ของประเทศไทย และต่างประเทศ รวมทั้งการวิเคราะห์มาตรการกำกับดูแลอาหาร GMOs ของประเทศไทยตามหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยง (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลอาหาร GMOs ของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหาร GMOs หนังสือวิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม เป็นต้น ตลอดจนข้อมูลบนเว็บไซต์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอาหาร GMOs ทั้งในประเทศและต่างประเทศ แล้วศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายของประเทศต่างๆ ได้นำหลักการประเมินความเสี่ยงที่มีกำหนดไว้ตามแนวทาง หลักการวิเคราะห์ ความเสี่ยงของอาหารที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (CAC-GL44-2003) และกำหนดไว้ในพิธีสารคาร์ตาเฮนา ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้ โดยประเทศที่กำหนดการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการบังคับตามกฎหมาย ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ลาว กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร บรูไน พม่า ไม่ได้กำหนดมาตรการดังกล่าวบังคับเป็นกฎหมาย สำหรับการแสดงฉลากอาหาร GMOs ประเทศต่างๆ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร บรูไน พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นมาตรการบังคับตามกฎหมาย กรณีของประเทศไทยพบว่าการประเมินความเสี่ยงของอาหาร GMOs ก่อนอนุญาตให้มีการผลิตนำเข้าหรือจำหน่ายในท้องตลาด เป็นมาตรการสมัครใจ การแสดงฉลากของอาหาร GMOs มีการบังคับเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองข้าวโพด และผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ. 2545 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม ซึ่งยังไม่ครอบคลุมอาหาร GMOs ชนิดอื่น และอาหารที่มีส่วนประกอบของพืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ GMOs หรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้จาก GMOs นอกจากนี้การกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับเกี่ยวกับอาหาร GMOs ที่จำหน่ายในท้องตลาด และการเรียกคืนอาหาร GMOs หากพบปัญหาความไม่ปลอดภัย ก็ยังไม่มีมาตรการทางกฎหมาย ส่วนกรณีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกกฎหมายควบคุมอาหาร GMOs ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ที่ใช้เป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับ GMOs ได้ กำหนดขอบเขตคำนิยามของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ไม่ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านการแปรรูป และไม่มีมาตรการกำกับดูแลในภายหลังจากที่ได้ขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และกำหนดให้มีการใช้หลักความรับผิดเด็ดขาดเฉพาะกรณีการเกิดความเสียหายต่อสุขภาพของมนุษย์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดให้การประเมินความปลอดภัยอาหาร GMOs และอาหาร GMOs ที่ผ่านการแปรรูปต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ก่อนอนุญาต ให้มีการผลิตนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่ายในท้องตลาด เป็นมาตรการบังคับทางกฎหมาย และควรกำหนดการแสดง ฉลากให้ครอบคลุมอาหาร GMOs ทุกชนิด ทั้งนี้มาตรการการติดตามเฝ้าระวังภายหลังออกสู่ตลาด จึงควรกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย ตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้ว รวมทั้ง มาตรการเรียกคืนอาหารที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นมาตรการทางกฎหมาย และหากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายประสงค์จะแสดงข้อความทำนองว่าไม่มีส่วนประกอบของ GMOs ต้องแสดงหลักฐานผลการตรวจวิเคราะห์ หรือต้องมีระบบการตรวจสอบรับรองกระบวนการผลิต และควรมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนเพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง นอกจากนั้นจะต้องมีข้อกำหนดให้มีระบบแจ้งเตือนภัยอาหารไว้ด้วยสำหรับร่างพระราชบัญญัติ ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. … ควรกำหนดนิยามให้ครอบคลุมถึงอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และกำหนดมาตรการกำกับดูแลหลังจากขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นควรกำหนดให้นำหลักการความรับผิด เด็ดขาดมาใช้บังคับกับกรณีเกิดความเสียหายต่อสุขภาพของมนุษย์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.303en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectอาหารตัดแต่งพันธุกรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectอาหาร -- มาตรการความปลอดภัยth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายอาหาร GMOs ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeLegal measure for genetic modified foods in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2014.303en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this Thesis are as follows: (1) to investigate problems related to the GMOs controlling in Thailand; (2) to study the concepts behind GMOs controlling measures of Thailand and other countries, as well as to analyses GMOs controlling measure in Thailand by principle of risk analysis; (3) to suggest an appropriated GMOs controlling measures in Thailand. This research is a qualitative study by collecting information related to food safety of genetic modified organisms from various sources, such as textbooks, articles, journals, theses, and proceedings, as well as online information from organizations’ websites The results of this research showed that legal measures in many countries adopted the risk assessments from the guideline of principles for the risk analysis of foods derived from modern biotechnology (CAC-GL44-2003) and Cartagena protocol such as European Union, Japan, Australia, Philippines, Indonesia, Vietnam, Malaysia, Laos, Cambodia and Republic of China. Those countries have regulated the risk assessment in health and environmental in domestic law. However, the United States, Singapore, Brunei and Myanmar have not provided such measures. Most countries demand mandatory genetic modified food labeling except United States, Philippines, Singapore, Brunei and Myanmar. In Thailand, safety assessments of genetic modified food before being produced, imported and placed in markets are based on voluntary. Labeling of genetically modified food following the Notification Ministry of Public Health (No251) B.E.2545 (Re: Labeling of food obtained through certain techniques of genetic modification) is required only for soybean, soybean products, corn and corn products, but excluding other foods and foods containing ingredients from genetically modified plants, animals and microorganism or products derived from their derivatives. Futuremore, food producers, importers and retailers of genetic modified foods have not been required by law to provide traceability systems for products placed in markets and food recallation in case of problems related to food safety. There is no criterion for public hearing from stakeholders in setting standard for genetic modified food control. The Draft Biosafety Act B.E. …. which is a law related to GMOs does not include processed genetic modification foods in its definition (of living modification organism) and has legal measure when approved living modified organism is released to environment. Besides, a strict liability will be applied only in case of adverse effect of human health from approved living modified organism being released to environment. However, In order to the protection of consumers, foods and processed foods produced form genetically modified organisms should be required the approval of risk assessment, as legal measure, before producing, importing or selling to consumers. Legal measures of genetically modified foods labeling should be included in all types of genetically modified foods.Regulatory agencies should provide and enforce the measure of traceability systems for safety assessment approval of genetically modified foods, and recalling of unsafe genetically modified foods. Producers, importers or retailers who would like to label “not GMOs” shall submit results of analysis or related certified processing systems. Regulatory agencies should set criteria for public hearing from stakeholders and food alert systems. The Draft Biosafety Act B.E. …. for the definition GMOs should include processed foods which are produced form genetically modified organisms. In addition, it’s should apply strict liability in every case of damage which cause by GMOsen_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib145921.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons