Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7912
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฎิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร
Other Titles: Factors related to performance of court officials in Chumphon Provincial Court
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณา ขาวหิรัญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลยุติธรรม--ข้าราชการ.--ไทย--ชุมพร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพรจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร (4) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และสุดท้ายด้านคุณภาพการให้บริการ (2) ข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตจังหวัดชุมพร ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร และปัจจัยด้านความต้องการการยอมรับนับถือ (4) แนวทางจากการศึกษา ประการแรก หน่วยงานควรพัฒนา ปรับเปลี่ยน กระบวนการ วิธีการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ประการที่สอง พัฒนาศักภาพข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอด การสอนงาน เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้แก่ข้าราชการ ประการที่สาม พัฒนาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงาน ทดแทนอัตรากำลังข้าราชการ (5) การปรับลดขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับอัตรากำลังข้าราชการ (6) การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารผ่านสื่อช่องทางต่างๆ เช่น ผ่านเว็บไซต์ ผ่ายแอฟพลิเคชั่นไลน์ (7) สร้างการรับรู้ เปิดโอกาส สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ การเข้าถึงข้อมูลของศาลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น มือถือ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา ฯลฯ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7912
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161630.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons