กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7925
ชื่อเรื่อง: พลวัตทางการเมืองภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายรักษ์ลุ่มนํ้าพระปรง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political dynamics of Civic engagement with regard to environment in Phra Prong River Conservation Network
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนศักดิ์ สายจำปา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กวินธิดา คำแหงผล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการสิ่งแวดล้อม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พลวัตทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้า และ 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนของเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำพระปรง โดยการใช้สิทธิตามกฎหมายของประชาชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน ได้แก่ ตัวแทนของเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำพระปรง ประชาชนในพื้นที่ 9 ตำบล ของอำเภอกบินทร์บุรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม จากนั้นจึงนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) พลวัตทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้า เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาในสิ่งที่ชุมชนได้รับผลกระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ของตนจากปัญหานำไปสู่การค้นหาสาเหตุ นำมารวบรวมวิเคราะห์ร่วมกัน เกิดการตื่นตัวเรียนรู้ เรียกร้องการแก้ไขจากรัฐ ส่งผลให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม พัฒนาความคิดจากประชาชนเป็นพลเมืองด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสังคม 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมและชุมชนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนของเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำพระปรงโดยการใช้สิทธิตามกฎหมายของประชาชนเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ชุมชนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ แบ่งหน้าที่กันทำ วางแผนร่วมกัน เกิดความเข้มแข็งสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับรัฐและทุนได้ภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยภาครัฐเข้ามาเป็นส่วนประสานระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7925
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons