Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/794
Title: การตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Other Titles: An inspection of the judicial authority of The Supreme Court of Criminal Division for Political Position Holders
Authors: มาลี สุรเชษฐ
อินทิรา ฉิวรัมย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิชา มั่นสกุล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
อำนาจพิจารณาคดีอาญา
ผู้พิพากษา--ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อค้นคว้ารูปแบบวิธีการของระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่ของผู้พิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมือง (2) เพื่อหาความคิดเห็นของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมต่อการตรวจสอบการใช้ อํานาจหน้าที่ ของผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมือง (3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่ ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองและ (4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงวิธีการในการตรวจสอบเพื่อความเป็นธรรมในการดำเนินการตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่ของผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมือง วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้พิพากษาศาลฎีกา จํานวน 8 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก จานวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า มีระบบหรือกระบวนการในการตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่ ของผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนก คดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองรวมทั้งสิ้น 5 ลักษณะ 7 กระบวนการได้แก่การตรวจสอบโดยการถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากภายในองค์กรศาลยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมทางอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันทุกกระบวนการได้ทําหน้าที่ตามที่่ได้รับมอบหมายจากสังคม โดยพบว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองก็ถูกตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมที่ดํารงตำแหน่งอื่นๆ ในความเห็นของผู้พิพากษา และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก การตรวจสอบการใช้อํานาจหน้าที่่โดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลไกที่ดีมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่ง ทางการเมืองมากที่สุด แต่โดยหลักของการตรวจสอบแล้วต้องมีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกที่่เป็นอิสระควบคู่กันไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งและโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่หากจะให้เป็นที่ยอมรับมากกว่านี้ ควรจะมีกระบวนการตรวจสอบในทางตุลาการ (Judicial Review) โดยศาล หรือองค์กรที่สูงกว่าหรือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่านี้ ขณะเดียวกันต้องไม่ละเลยการตรวจสอบที่ไม่เป็นทางการ (Informal Check) ด้วย เช่น การตรวจสอบจากนักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นต้น โดยมีผลการศึกษาวิจัย นํามาเป็นข้อเสนอคือให้มีศาลที่ทําหน้าที่พิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองอย่างน้อยสองศาล โดยอาจจะเริ่มที่ศาลอาญา (ในส่วนของคดีอาญา) หรือศาลแพ่ง (ในส่วนของคดีแพ่ง) หรืออาจจะเริ่มต้นจากศาลอุทธรณ์แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมือง โดยให้มีการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคำสั่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นศาลสุดท้าย และเพื่่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีประกอบไปด้วยบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทั้งในแง่ปฏิบัติ ทฤษฎีและมิติทางการเมืองรวมทั้งผนวกการเชื่อมโยงกับประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองจึงควรประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกา จํานวน 9 คน ผู้พิพากษาสมทบจากนักวิชาการหรืออาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน หรือรัฐศาสตร์ จํานวน 3คน และนักการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จํานวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน ก็จะทำให้การพิจารณาคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองมีความเหมาะสม
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/794
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib125089.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons