กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7974
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exporter's satisfaction towards the services of sea freight forwarders in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โสภณ คล่องบุญจิต, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
การขนส่งสินค้า
การขนส่งสินค้าทางทะเล
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของบริษัทผู้ส่งออก ได้แก่ ประเภทของการประกอบธุรกิจ ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา ประเภทสินค้าที่ส่งออก และเส้นทางเดินเรือที่ใช้บริการ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทผู้ส่งออกสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 388 ตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของ Duncan และการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของบริษัทผู้ส่งออก ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพึงพอใจของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการใน 4 ด้าน และในภาพรวม ของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางทะเลในเขตกรุงเทพ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของบริษัทผู้ส่งออกที่มีต่อการให้บริการในแต่ละด้านมีดังนี้ ในด้านการให้บริการก่อนการจัดการขนส่งสินค้าทางทะเล พลความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามประเภทของการประกอบธุรกิจแลเส้นทางเดินเรือที่ใช้บริการ ในด้านการให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ไม่พบความแตกต่างกัน ในด้านกลยุทธ์ทางการตลาด พลความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา และเส้นทางเดินเรือที่ใช้บริการ ในด้านอัตราค่าบริการ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามประเภทของการประกอบธุรกิจ ระดับการศึกษา และประเภทของสินค้าที่ส่งออก (3) ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่าในด้านการให้บริการก่อนการจัดการขนส่งสินค้าทางทะเล ส่วนใหญ่ระบุว่ามีปัญหาพื้นที่ระวางเรือไม่เพียงพอ และขนาดตู้สินค้าไม่ตรงตามต้องการ ควรมีการจัดขนาดตู้สินค้าให้เหมาะสมกับสินค้ามากขึ้น ในด้านการให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง มีปัญหาด้านเอกสารส่งออกที่ผิดไม่เรียบร้อย ล่าช้า ควรปรับปรุงความถูกต้องของเอกสาร และจัดส่งให้เร็วขึ้น ในด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีปัญหาขาดการดูแล และติดตามลูกค้า ในด้านอัตราค่าบริการ มีปัญหาอัตราค่าระวางเรือที่เรียกเก็บสูงเกินไป และมีข้อเสนอแนะให้ลดอัตราค่าบริการลงบ้างตามความเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86359.pdfเอกสารฉบับเต็ม844.93 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons