Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7981
Title: | ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านจุดบริการ pay at post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | The satisfaction of customers using pay at post services at post offices in Nakhon Sawan province |
Authors: | วิเชียร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา ดรรชนี บุญเหมือนใจ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา ฉวีวรรณ สิริเขมาภรณ์, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์ ความพอใจของผู้ใช้บริการ ไปรษณีย์ -- ไทย -- นครสวรรค์ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะของผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านจุดบริการ Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ จำแนกตามกลุ่มบริการและตามปัจจัยส่วนประสมการตลาด (3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ บริการที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการชำระเงินผ่านจุดบริการ Pay at Post ของที่ทำการไปรษณีย์ใน เขตจังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และการบริการของกลุ่มที่ทำการ (4) ศึกษาสภาพปัญหาที่ ผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านจุดบริการ Payal Post ประสบในการใช้บริการของที่ทำการไปรษณีย์ในเขตจังหวัด นครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 16 แห่ง จำนวน 480 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนและการทดสอบการเปรียบเทียบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ใช้บริการที่มาใช้บริการชำระเงินผ่านจุดบริการ Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเพศชายกับเพศหญิงใกล้เคียงกัน มีอายุระหว่าง 20-34 ปี ส่วน ใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ และมีรายได้ระหว่าง 5,000- 10,000 บาท (2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อกลุ่มบริการทั้ง 8 กลุ่มอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจต่อ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดทั้ง 5 ด้านพบว่ามีความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาด้านการจัดจำหน่ายและ สถานที่ ด้านบุคคล อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีความพึงพอใจระดับปานกลาง (3) ผู้ใช้ บริการที่มีเพศ อายุ และรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อบริการ 5 ด้าน ไม่ต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจด้านผลิตภัณห์ราคา การจัดจำหน่ายและ สถานที่ และการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจด้านการส่งเสริมการ ตลาดแตกต่างกัน และผู้ใช้บริการ ณ ที่ทำการต่างกันมีความพึงพอใจต่อบริการ 5 ด้านต่างกัน โดยผู้ใช้บริการ ณ ที่ทำการระดับอำเภอมีความพึงพอใจสูงกว่าผู้ใช้บริการระดับจังหวัดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล และสูงกว่าผู้ใช้บริการระดับตำบล ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและสถานที่และด้าน บุคคล (4) ปัญหาที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ประสบ คือสื่อประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ จำนวนช่องให้บริการมีน้อย และปัญหาความล่าช้าของการให้บริการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7981 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License