กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7986
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการซื้อหนังสือวรรณกรรมเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Children's fiction books buying behavior in Bangkok metropolitan area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจนแสง นพรัตน์ ประกอบไวทยกิจ, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ วรรณกรรมสำหรับเด็ก พฤติกรรมผู้บริโภค เยาวชน--พฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อหนังสือวรรณกรรมเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาข้อเสนอแนะของผู้ซื้อหนังสือวรรณกรรมเยาวชน ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการขาย และด้านการส่งเสริมการขายกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ซื้อหนังสือวรรณกรรมเยาวชนจากร้านหนังสือในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 374 ราย ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละผลการวิจัยพบว่า หนังสือวรรณกรรมเยาวชนที่มีผู้ซื้อมากที่สุดได้แก่ แนวเรื่องรักแนวเรื่องส่งมีชีวิตพิสดาร แนวเรื่องผจญภัยตามหาสิ่งมีค่า และแนวเรื่องลึกลับ ตามลำดับ โดยพฤติกรรมการซื้อของผู้ซื้อหนังสือวรรณกรรมเยาวชนแต่ละแนวเรื่อง คือ 1.1 แนวเรื่องรัก ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 12-17 ปี อยู่ในชนชั้นกลาง สิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคือเนื้อหา แหล่งที่ซื้อคือร้านหนังสือ เวลาที่ซื้อคือตามสะดวก ปริมาณที่ซื้อคือ 2-6 เล่มต่อเดือน 1.2 แนวเรื่องสิ่งมีชีวิตพิสดาร ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 12-17 ปี อยู่ในชนชั้นกลาง สิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคือเนื้อหา แหล่งที่ซื้อคือร้านหนังสือ เวลาที่ซื้อคือตามสะดวก ปริมาณที่ซื้อคือ 2-6 เล่มต่อเดือน1.3 แนวเรื่องผจญภัยตามหาส่งมีค่า ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-24 ปี อยู่ในชนชั้นกลางส่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคือเนื้อหา แหล่งที่ซื้อคือร้านหนังสือ เวลาที่ซื้อคือตามสะดวก ปริมาณที่ซื้อคือ 2-6 เล่มต่อเดือน 1.4 แนวเรื่องลึกลับ ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 12-17 ปี อยู่ในชนชั้นกลาง ส่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคือเนื้อหา แหล่งที่ซื้อคือร้านหนังสือ เวลาที่ซื้อคือตามสะดวก ปริมาณที่ซื้อคือ 1-2 เล่มต่อเดือน ผู้ซื้อเสนอให้เน้นคุณภาพและความหลากหลายของการเขียนการแปลสำหรับด้านผลิตภัณฑ์ ความสมเหตุสมผลสำหรับด้านราคา การวางจำหน่ายอย่างทั่วถึงสำหรับด้านจ่องทางการจัดจำหน่ายและโฆษณาที่ตัวผลิตภัณฑ์สำหรับด้านการส่งเสริมการตลาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7986 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License