Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7987
Title: อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายตามมาตรา 96 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
Other Titles: Jurisdiction to determine compensation under section 96 of the enhancement and conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิเรก บัวสุก, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
เขตอำนาจศาล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายตามมาตรา 96 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะของการกําหนดค่าเสียหาย บองศาล ตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กับการกำาหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศและบทบัญญัติกฎหมายของไทยที่มีบทบัญญัติ กำหนดให้อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการกำหนดค่าเสียหายของศาลจากการก่อให้เกิดมลพิษ รวมทั้งศึกษาแนวทางและวิธีการกำหนดค่าเสียหายของศาล การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศและบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไบการกําหนดค่าเสียหายของศาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่ประสพอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดประสิทธิภาพ และเหมาะสม ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดหลักการทางกฎหมาย มาตรการบังคับใช้กฎหมาย และการแก้ไขกฎหมาย โดยการกําหนดบทบัญญัติเฉพาะให้อำนาจศาลในการกําหนดค่าเสียหาย ในกรณีที่มีผู้ก่อให้เกิดมลพิษ และมีผู้ได้รับความเสียหายเพื่อความเหมะเกิดความเป็นธรรม และให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากปัญหาการก่อให้เกิดมลพิษได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่าการก้าหนดค่าเสียหายของศาลในคดีสงแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ยังคงใช้หลักการในการกำหนดค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามหลักละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย แต่เนื่องจากคดีสิ่งแวดล้อมมีลักษณะพิเศษ มีความซับซ้อนที่แตกต่างจากคดีละเมิดทั่ว ๆ ไป และประการที่สำคัญไม่มีการนำเอาหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ตามแบบอย่างของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ที่เห็นเด่นชัดคือประเทศสหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งบทบัญญัติกฎหมายบางฉบับของประเทศไทย ซึ่งได้มีการนำเอาหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาบังคับใช้แล้ว ทําให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย ยังไม่ได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องเหมาะสมและยุติธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7987
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons