Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7989
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิชth_TH
dc.contributor.authorอธิปไตย ไกรราช, 2509-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T02:31:14Z-
dc.date.available2023-07-20T02:31:14Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7989-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระ เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 เพื่อระงับข้อพิพาททางแพ่งนี้ มีวัถตุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์ ความชอบด้วยหลักการและความเหมาะสมในการให้มีคณะกรรมการในระดับอำเภอทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททางแพ่ง ตามมาตรา 61/2 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2550 การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ซึ่งศึกษาในเชิงทฤษฎี แนวคิด และการวิเคราะห์จากกฎหมาย หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ตนเองและรวมถึงระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ จากการศึกษา ประเทศไทยได้มีความพยายามหันเหข้อพิพาททางแพ่งออกจากกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง โดยมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ให้ฝ่ายปกครองระดับอำเภอจัดการกับข้อพิพาทด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย แต่การศึกษาพบว่า บทบัญญัติดังกล่าว ในแง่จัดระเบียบหมวดหมู่ของกฎหมาย ควรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่การปกครองท้องที่ของฝ่ายปกครอง ส่วนความเหมาะสมที่ให้นายอำเภอหรือฝ่ายปกครองทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งนั้น โดยที่ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งที่ชาวบ้านรู้จักในฐานะพ่อเมืองระดับอำเภอ โดยบทบาทหน้าที่เป็นบุคคลที่ต้องมีความน่าเชื่อถือของประชาชน ในการระงับข้อพิพาทเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้เกิดความสงบสุขของราษฎร จึงมีความเหมาะสมกว่าการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนการกำหนดผู้ไกล่เกลี่ยขึ้นใหม่ ที่เคยกำหนดให้นายอำเภอเพียงคนเดียว เปลี่ยนมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในลักษณะคณะบุคคลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นหลักประกันความเชื่อถือมากกว่า แต่ควรมีการทบทวน แก้ไขกฎกระทรวงในส่วนอายุความให้มีความชัดเจนขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายปกครองth_TH
dc.titleการบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 เพื่อระงับข้อพิพาททางแพ่งth_TH
dc.title.alternativeEnforcement of the State Administration Act B.E. 2534 amendment (No.7), B.E 2550 to settle civil disputesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Independent Enforcement Administration Act B.E 2534 amendment (No. 7), B.E 2550 to settle civil disputes this. An earthy purpose study Principle of legality and propriety of the district level committee served as a civil mediation conciliation under Section 61/2 of the Administration Act Amendment B.E 2534 (No. 7), May since 2550 Independent study is a qualitative research. With research papers The theoretical study and analysis of legal concepts, theses, books, journals, related document. And include a self-regulation. Analyzed comparing with other countries Of the study was an attempt to divert civil disputes out of the civil justice system. We adjust the Administration Act B.E 2534, as amended (No. 7) ,B.E 2550 to deal with the administrative district level civil dispute or lawsuit and a reconciliation of justice. Strengthen peace But the study found that Such provisions in the organizing categories of law. Should be explicitly stated in the regional administration. The 2457 Act, the provisions relating to the authority of the local governing administrative or management. Most appropriate to the sheriff or officer who served the civil mediation. The mission of the Ministry of Interior in the livelihood Sheriff's Officials in the Ministry of Interior. As for the locals, known as district governor The role requires an individual who has the trust of the public. To dispute the authority to achieve the peace of the people. Therefore it is appropriate to set out in the Act administration. Defining new mediators. Been assigned only sheriff. Change is mediated in a group of persons acting as a mediator, which is secured over. It should be reviewed Modified regulations in the age to clear up.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons