กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7989
ชื่อเรื่อง: การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 เพื่อระงับข้อพิพาททางแพ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enforcement of the State Administration Act B.E. 2534 amendment (No.7), B.E 2550 to settle civil disputes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
อธิปไตย ไกรราช, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 เพื่อระงับข้อพิพาททางแพ่งนี้ มีวัถตุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์ ความชอบด้วยหลักการและความเหมาะสมในการให้มีคณะกรรมการในระดับอำเภอทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททางแพ่ง ตามมาตรา 61/2 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2550 การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ซึ่งศึกษาในเชิงทฤษฎี แนวคิด และการวิเคราะห์จากกฎหมาย หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ตนเองและรวมถึงระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ จากการศึกษา ประเทศไทยได้มีความพยายามหันเหข้อพิพาททางแพ่งออกจากกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง โดยมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ให้ฝ่ายปกครองระดับอำเภอจัดการกับข้อพิพาทด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย แต่การศึกษาพบว่า บทบัญญัติดังกล่าว ในแง่จัดระเบียบหมวดหมู่ของกฎหมาย ควรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่การปกครองท้องที่ของฝ่ายปกครอง ส่วนความเหมาะสมที่ให้นายอำเภอหรือฝ่ายปกครองทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งนั้น โดยที่ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งที่ชาวบ้านรู้จักในฐานะพ่อเมืองระดับอำเภอ โดยบทบาทหน้าที่เป็นบุคคลที่ต้องมีความน่าเชื่อถือของประชาชน ในการระงับข้อพิพาทเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้เกิดความสงบสุขของราษฎร จึงมีความเหมาะสมกว่าการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนการกำหนดผู้ไกล่เกลี่ยขึ้นใหม่ ที่เคยกำหนดให้นายอำเภอเพียงคนเดียว เปลี่ยนมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในลักษณะคณะบุคคลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นหลักประกันความเชื่อถือมากกว่า แต่ควรมีการทบทวน แก้ไขกฎกระทรวงในส่วนอายุความให้มีความชัดเจนขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7989
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons