กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/798
ชื่อเรื่อง: | บทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Role of the prosecutors in proceeding corruption and misconduct cases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช ณัฏฐพงศ์ สุวรรณพาณิชย์, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. ลาวัลย์ หอนพรัตน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ อัยการ--ไทย การฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาทพนักงานอัยการในการดำ เนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ศึกษาบทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และแนวทางแก้ไขปัญหาของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยศึกษาจากตำรากฎหมาย พระราชบัญญัติ บทความ วารสารทางวิชาการ ระเบียบข้อบังคับ เพื่อทำการ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการผู้ฟ้องคดีต่อศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และทนายความ ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มีมากในขั้นตอนการรับสำนวนการไต่สวน และสำนวนการสอบสวน รวมทั้งการพิจารณาสำนวน ก่อนมีคำสั่งใดๆ รวมทั้งการประชุมร่วมในการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ และก่อนที่จะดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาล แต่เมื่อได้ดำเนินการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลแล้วบทบาทของพนักงานอัยการจะลดลง อย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินคดีในศาลอาญาทั่วไป เพราะการพิจารณาคดีในศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบใช้ระบบไต่สวนนั้นบทบาทของพนักงานอัยการจะไม่เหมือนกับการดำเนินคดีอาญาทั่วไปที่ใช้ระบบกล่าวหา เพราะบทบาทของพนักงานอัยการจะมีน้อยมาก เนื่องจากศาลเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง เมื่อศาลแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง ศาลจึงไม่สามารถยกเหตุแห่งความสงสัยขึ้นเพื่อยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดี จึงควรที่จะแก้กฎหมายให้พนักงานอัยการเข้าร่วมไต่สวนกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มพบการกระทำความผิด กระบวนการไต่สวนในศาลควรเปิดโอกาสให้พนักงานอัยการได้ซักถามพยานได้อย่างเต็มที่ หรือมิฉะนั้น ควรใช้ระบบไต่สวนอย่างเต็มที่แบบระบบการไต่สวนของประเทศฝรั่งเศส |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/798 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib158660.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 65.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License