กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/799
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: es for caring of patients weaning from respiratory ventilation machines at the intensive care unit in Tung Song Hospital, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุติมา รัตนบุรี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ผู้ป่วย--การดูแล
พยาบาลวิชาชีพ--ความพอใจในการทำงาน
พยาบาลกับผู้ป่วย--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบจำนวนวันที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจและผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีเดิม และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพระหว่างก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหยาเครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน จำแนกเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 20 คนที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีเดิมในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึงเดือน เมษายน 2559 และกลุ่มทดลอง 20 คนที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลีนิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยใจที่พัฒนาขึ้นในเดือนกรกฏาคม 2559 ถึงเดือนสิงหาคม 2559 โดยการจับคู่ด้วยอายุ เพศ และโรคของผู้ป่วยเข้าในแต่ละกลุ่มให้ใกล้เคียงกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพซึ่งได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบน มาตรฐาน ไคว์สแควร์ และสถิติทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) จำนวนวันที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้นน้อยกว่าจำนวนวันใช้ในผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติตามวิธีเดิม และ (2) หลังใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้นพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจสูงกว้าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/799
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext 155198.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons