Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพาณิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรอุมา ต้อยแก้ว, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T03:57:12Z-
dc.date.available2023-07-20T03:57:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8002-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยทั่วไป และข้อมูลสุขภาพของบุคคลที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของบุคคลที่เข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อศึกษาปัญหาของการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเลคทรอนิกส์ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเลคทรอนิกส์ ของผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าจากตำราและตัวบทกฎหมาย ของไทยและต่างประเทศบทความวิทยานิพนธ์สารนิพนธ์รายงานการวิจัยวารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้ง คำพิพากษาของศาลทั้งไทยและต่างประเทศและข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายของต่างประเทศดังได้ศึกษามาในบทที่ 3 ได้แก่ประเทศอังกฤษ เยอรมันและออสเตรเลีย จะเห็นว่าแต่ละประเทศจะมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และจะมีบทบัญญัติที่กล่าวถึงการคุ้มครองข้อมูลทางด้านสุขภาพไว้ ในขณะที่ประเทศไทยยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวเพิ่งผ่านการรับรองของคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความบกร่องในการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพของบุคคล กล่าวคือประการแรก ร่างกฎหมายมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล โดยเฉพาะหลักความยินยอมของเจ้าของข้อมูลซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญที่นานาประเทศถือปฏิบัติโดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมซึ่งจะขัดต่อหลักการพื้นฐานตามแนวปฏิบัติสากลคือ Organization for Economic Co-operation and Development Guidelines on the Protection of Privacy and Transborder Flows of Personal Data (1980)ประการที่สอง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯ ยังมีบทบัญญัติบางเรื่องที่ทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติหรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยเฉพาะมาตรา 14 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการปฏิบัติงานหรือมีอำนาจหน้าที่ในบางเรื่องแทนคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่แตกต่างกันได้ ประการที่สาม โครงสร้างของ“คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติ”(มาตรา 7) โดยเฉพาะกรรมการโดยตำแหน่งซึ่งเน้นเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการป้องกันข้อมูล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทยth_TH
dc.subjectการขัดกันแห่งกฎหมาย--การป้องกันข้อมูล--ไทยth_TH
dc.subjectการขัดกันแห่งกฎหมาย--สิทธิส่วนบุคคล--ไทยth_TH
dc.subjectกฎหมายทางการแพทย์--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeThe protection of personal electronic health information for hospitalized personsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were to study the concept , theories about the protection of personal information and health information of the hospitalized patients to study the laws related to the protection of personal health information the hospitalized patients both in Thailand and abroad to study the problems of electronic health information protection of the hospitalized patients and to find ways to improve the law in order to protect the personal electronic health information of those admitted to the hospital. In this study, the qualitative research method was used by studying and researching from textbooks, Thai and foreign laws, articles, theses, independent studies, research reports, law journals, documents, including judgments of both Thai and foreign courts and information from various websites. The studying was found that foreign laws, such as England, Germany and Australia, had the personal data protection laws and there would be provisions that addressed the health information protection. While Thailand has not yet enacted a draft of the Personal Data Protection Act B.E ....which was currently approved by the Cabinet on 22 May 2018. However, the draft law also has deficiencies in the protection of personal health information as follow: First, the draft law has some provisions that are inconsistent with the principles of personal data protection. Particularly the principle of consent of the owner of information, which is an important principle that many countries practice the use of personal information to be used or distributed to other people without consent which is contrary to the basic principles in accordance with international practices, namely the Organization for Economic Co-operation and Development Guidelines on the Protection of Privacy and Trans border Flows of Personal Data (1980). Secondly, the draft of the Personal Information Protection Act also contained some provisions that created different practices or protection of personal information between the government and the private sector. In particular, Section 14 stipulates that the Information Commission of the Government shall perform duties or have the authority and duties in certain matters instead of the National Personal Information Protection Committee which may cause different problems in enforcing laws between the government and the private sector. Third, the structure of the "National Personal Information Protection Committee" (Section 7), especially the position committee, which focuses only on security agenciesen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons