กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8002
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Protection of personal electronic health information for hospitalized persons
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพาณิช
อรอุมา ต้อยแก้ว, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การป้องกันข้อมูล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
การขัดกันแห่งกฎหมาย--การป้องกันข้อมูล--ไทย
การขัดกันแห่งกฎหมาย--สิทธิส่วนบุคคล--ไทย
กฎหมายทางการแพทย์--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยทั่วไป และข้อมูลสุขภาพของบุคคลที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของบุคคลที่เข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อศึกษาปัญหาของการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเลคทรอนิกส์ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลทางอิเลคทรอนิกส์ ของผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าจากตำราและตัวบทกฎหมาย ของไทยและต่างประเทศบทความวิทยานิพนธ์สารนิพนธ์รายงานการวิจัยวารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้ง คำพิพากษาของศาลทั้งไทยและต่างประเทศและข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายของต่างประเทศดังได้ศึกษามาในบทที่ 3 ได้แก่ประเทศอังกฤษ เยอรมันและออสเตรเลีย จะเห็นว่าแต่ละประเทศจะมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และจะมีบทบัญญัติที่กล่าวถึงการคุ้มครองข้อมูลทางด้านสุขภาพไว้ ในขณะที่ประเทศไทยยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวเพิ่งผ่านการรับรองของคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความบกร่องในการคุ้มครองข้อมูลสุขภาพของบุคคล กล่าวคือประการแรก ร่างกฎหมายมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล โดยเฉพาะหลักความยินยอมของเจ้าของข้อมูลซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญที่นานาประเทศถือปฏิบัติโดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมซึ่งจะขัดต่อหลักการพื้นฐานตามแนวปฏิบัติสากลคือ Organization for Economic Co-operation and Development Guidelines on the Protection of Privacy and Trans border Flows of Personal Data (1980) ประการที่สอง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯ ยังมีบทบัญญัติบางเรื่องที่ทำให้เกิดแนวทางปฏิบัติหรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยเฉพาะมาตรา 14 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการปฏิบัติงานหรือมีอำนาจหน้าที่ในบางเรื่องแทนคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่แตกต่างกันได้ ประการที่สาม โครงสร้างของ“คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งชาติ”(มาตรา 7) โดยเฉพาะกรรมการโดยตำแหน่งซึ่งเน้นเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8002
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons