Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอัทยา วณิชชานัย, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T04:29:44Z-
dc.date.available2023-07-20T04:29:44Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8008-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและวิธีการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาล และปัญหา อุปสรรคในการนำวิธีการระงับข้อพิพาทนอกศาลมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยหรือไม่ เพื่อที่จะเสนอแนวทางการนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและชัดเจนในทางปฏิบัติในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม การศีกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาถึงหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล วิเคราะห์สภาพปัญหาการนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลมาใช้กับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม และสามารถนำมาปรับใช้กับการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลโดยตรง ปัจจุบันแม้จะมีการนำกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญามาใช้พิพาททางสิ่งแวดล้อม แต่ขาดองค์กรที่ทําหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม จึงเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาล และจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรกลางขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม โดยนำรูปแบบของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ควรมีการเพิ่มเติม เรื่อง การระงับพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และควรมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง เรื่อง “อายุความ” โดยให้อายุความของข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่กระบวนการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลสะดุดหยุดลงจนกว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลจะสิ้นสุด ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการไกล่เกลี่ยth_TH
dc.subjectการระงับข้อพิพา--แง่สิ่งแวดล้อมth_TH
dc.titleการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลth_TH
dc.title.alternativeEnvironmental dispute resolution by using mediation proceedings conducted outside the courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on environmental dispute resolution by using mediation proceedings conducted outside the court aims to study concepts and dispute settlement outside the court and how and if environmental disputes can be settled outside the court. In addition, dispute settlement methods were suggested for clear and rapid implementation in judicial procedure for environment-related cases. This independent and qualitative study studied legal principles of mediation settlement outside the court, analyzed problems of environmental dispute settlement by using mediation proceedings conducted outside the court, principles and methods of mediation outside the court outside the country to find proper process of environmental dispute settlement outside the court in Thailand. It was found that there were in Thai laws regarding the environment, there were no direct provisions of environmental mediation outside the court. Currently, even though the process of Civil and Criminal Dispute Resolution is used with environmental dispute, there is no work unit in charge of environmental mediation. It is suggested that a work unit and an organization is set up to settle environmentrelated disputes by using mediation proceedings conducted outside the court. The Japanese environmental dispute settlement system can be adopted to Thailand. Moreover, environmental mediation should be mentioned in the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535. The “prescription” of environmental disputes in mediation process should be suspended until the environmental mediation is over according to the Civil and Commercial Code, the Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure Act, B.E.2542, the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 and rules of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on Administrative Court Procedure, B.E. 2543en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons