Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8008
Title: | การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล |
Other Titles: | Environmental dispute resolution by using mediation proceedings conducted outside the court |
Authors: | มาลี สุรเชษฐ อัทยา วณิชชานัย, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การไกล่เกลี่ย การระงับข้อพิพา--แง่สิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและวิธีการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาล และปัญหา อุปสรรคในการนำวิธีการระงับข้อพิพาทนอกศาลมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยหรือไม่ เพื่อที่จะเสนอแนวทางการนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและชัดเจนในทางปฏิบัติในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม การศีกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาถึงหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล วิเคราะห์สภาพปัญหาการนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลมาใช้กับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม และสามารถนำมาปรับใช้กับการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติในเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลโดยตรง ปัจจุบันแม้จะมีการนำกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญามาใช้พิพาททางสิ่งแวดล้อม แต่ขาดองค์กรที่ทําหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม จึงเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาล และจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรกลางขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม โดยนำรูปแบบของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ควรมีการเพิ่มเติม เรื่อง การระงับพิพาททางสิ่งแวดล้อมโดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และควรมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง เรื่อง “อายุความ” โดยให้อายุความของข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่กระบวนการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลสะดุดหยุดลงจนกว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมนอกศาลจะสิ้นสุด ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8008 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License