Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอานนท์ เกิดเกตุ, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T05:52:55Z-
dc.date.available2023-07-20T05:52:55Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8009-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับการควบคุมการทางานของคนต่างด้าว 2) เพื่อศึกษาสาระสำคัญ หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และแนวปฏิบัติในการอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาอันเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 5) เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว การค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยค้นคว้าจากวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว ข้อมูลสถิติ บทความและบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตทำงานตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ของนายทะเบียนยังไม่มีกฎกระทรวงออกมารองรับ ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาตามระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552 แต่ระเบียบดังกล่าวก็มิได้มีคำอธิบายที่ชัดเจนเพียงพอที่นายทะเบียนจะใช้ดุลยพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการพิจารณาอนุญาตทำงาน และการเรียกเอกสารประกอบการพิจารณายังขาดความน่าเชื่อถือว่าจะต้องเรียกเอกสารอะไรมาประกอบการพิจารณา จึงทำให้นายทะเบียนเกิดความลังเลว่างานหรือลักษณะงานที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้ 1) แก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว 2) ยกเลิกหลักเกณฑ์ในการกำหนดการจำกัดจำนวนคนต่างด้าวที่ขอใบอนุญาต ทั้งนี้ เพื่อให้มีคำอธิบายที่ชัดเจนเพียงพอที่นายทะเบียนจะใช้ดุลยพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการพิจารณาอนุญาตทำงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการรับรองแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.titleหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวth_TH
dc.title.alternativePrinciples for considering the issuance of alien work permitsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the history of measures to control alien workers in Thailand; 2) to study the present substance, principles, steps, and practices for issuing work permits for aliens; 3) to study and analyze problems arising from the lack of clarity in laws related to auothorizing aliens to work in the Kingdom; 4) to compare Thailand’s alien labor laws with those of other countries; and 5) to recommend an approach to revising the principles for issuing work permits for aliens. This was a documentary research based on analysis of related theses, research reports, statistics, essays and laws from Thailand and other countries. The results showed that as yet no ministerial regulations have been issued under Clause 7 of the Working of Aliens Act, B.E. 2551 (C.E. 2008) regarding principles for the issuance of work permits, so that in practice registrars must follow the 2009 rules on consideration of authorizing work by aliens of the Department of Employment. These rules do not have clear enough explanations and definitions of terms, which makes it difficult for all registrars to follow the same standards when using their discretion to consider applications for work permits for aliens. There is also a lack of credibility regarding the documentation required from work permit applicants. Registrars may be uncertain whether or not the work position or type of work in question falls into the category of authorized work for aliens. The author therefore makes the following recommendations: 1) the principles for considering work permits for aliens should be revised; and 2) the limitation on the number of alien work permits to be issued should be revoked. The revised principles should provide sufficient explanations of the law so that all registrars may follow the same standards in considering work permit applicationsen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons