Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8012
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีรัตน์ ประจนปัจจนึกth_TH
dc.contributor.authorอาภัสร์ เพชรผุด, 2506-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-20T06:13:47Z-
dc.date.available2023-07-20T06:13:47Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8012en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครอง โดยขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึง โครงสร้างของแพทยสภาและลักษณะนิติกรรมทางปกครองในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรม รวมทั้งการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครอง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) จากการค้นคว้าตำรากฎหมาย เอกสารประกอบคำบรรยาย คำพิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครอง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต แพทยสภาไทยตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยโดยใช้นิติกรรมทางปกครองเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ในอดีตการโต้แย้งนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภากระทำได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมโดยศาลจะตรวจสอบเฉพาะในเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการในการทำนิติกรรมทางปกครองนั้น แต่จะไม่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของแพทยสภา ในปัจจุบันการโต้แย้งนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาทำได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ นิติกรรมทางปกครองนั้น โดยศาลปกครองจะตรวจสอบถึงการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยของแพทยสภาด้วยแต่ศาลจะไม่เข้าไปตรวจสอบดุลพินิจตัดสินใจ สำหรับประเทศฝรั่งเศสจะมีคณะกรรมการทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางวิชาชีพในระดับภาคและระดับชาติ และข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยสามารถยื่นฟ้องคดีต่อ กองเซย เดตาได้โดยตรง โดยกองเซย เดตา มีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ สำหรับใน สหราชอาณาจักรมีคณะกรรมการที่วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับวิชาชีพแยกออกมาจากแพทยสภาโดยสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยในคดีข้อพิพาทต่อศาลไฮคอร์ท โดยศาลมีอำนาจเต็มในการที่จะสั่งให้ทบทวน เพิกถอนหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ผลการศึกษาพบว่า ควรจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทคดีจริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพเวชกรรมแยกออกจากคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อให้คำวินิจฉัยเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และข้อโต้แย้งในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนี้ให้ฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองสูงสุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectแพทยสภาth_TH
dc.subjectนิติกรรมทางการปกครองth_TH
dc.subjectศาลปกครองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครองth_TH
dc.title.alternativeControl of administrative acts of the Medical Council by the Administrative Courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on the control of administrative acts of the Medical Council by the administrative court aims to study the control of administrative acts of the Medical Council by the administrative court. The scope of this study covers structure of the Medical Council and its administrative acts in terms of controlling medical profession and legitimacy of administrative acts of the Medical Council by the administrative court. Control of administration acts of the Medical Council in the UK and France was selected for a comparative study. This study is a qualitative and documentary research on textbooks, lectures, judgments of the administrative court and the Supreme Court and data from the Internet. The Medical Council was founded according to the Medical Profession Act, B.E. 2525 with an aim to control medical practice in Thailand using administrative acts as tools. In the past, arguments on administrative acts of the Medical Council were submitted to the court of justice. The cases were considered in terms of jurisdictions and processes of administrative acts. However, discretion of the Medical Council was not looked into. At present, arguments on administrative acts of the Medical Council were submitted to the administrative court for investigation of legitimacy of the Medical Council. The administrative court examines the process to perform the acts only, not the judgment. In France, there is a special committee considering professional disputes at the regional and national levels. Moreover, arguments can be submitted directly to the Conseil d’Etat, which is authorized to revoke or amend decisions of the committee. In the UK, there is a committee considering professional disputes that is separated from the Medical Council. Judgments on disputes can be appealed to the High Court of Justice of England, which is fully authorized to order a review, revoke or amend judgments of the committee. The study found that a committee considering ethical disputes in medical profession should be established and separated from the Medical Council in order to offer judgments accepted by all parties. Furthermore, arguments on its judgments should be submitted to the Supreme Administrative Court.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons