กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8012
ชื่อเรื่อง: | การควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Control of administrative acts of the Medical Council by the Administrative Court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก อาภัสร์ เพชรผุด, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี แพทยสภา นิติกรรมทางการปกครอง ศาลปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครอง โดยขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึง โครงสร้างของแพทยสภาและลักษณะนิติกรรมทางปกครองในการควบคุมวิชาชีพเวชกรรม รวมทั้งการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาโดยศาลปกครอง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการควบคุมนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) จากการค้นคว้าตำรากฎหมาย เอกสารประกอบคำบรรยาย คำพิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครอง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต แพทยสภาไทยตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยโดยใช้นิติกรรมทางปกครองเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ในอดีตการโต้แย้งนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภากระทำได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมโดยศาลจะตรวจสอบเฉพาะในเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการในการทำนิติกรรมทางปกครองนั้น แต่จะไม่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของแพทยสภา ในปัจจุบันการโต้แย้งนิติกรรมทางปกครองของแพทยสภาทำได้โดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ นิติกรรมทางปกครองนั้น โดยศาลปกครองจะตรวจสอบถึงการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยของแพทยสภาด้วยแต่ศาลจะไม่เข้าไปตรวจสอบดุลพินิจตัดสินใจ สำหรับประเทศฝรั่งเศสจะมีคณะกรรมการทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางวิชาชีพในระดับภาคและระดับชาติ และข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยสามารถยื่นฟ้องคดีต่อ กองเซย เดตาได้โดยตรง โดยกองเซย เดตา มีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ สำหรับใน สหราชอาณาจักรมีคณะกรรมการที่วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับวิชาชีพแยกออกมาจากแพทยสภาโดยสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยในคดีข้อพิพาทต่อศาลไฮคอร์ท โดยศาลมีอำนาจเต็มในการที่จะสั่งให้ทบทวน เพิกถอนหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ผลการศึกษาพบว่า ควรจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทคดีจริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพเวชกรรมแยกออกจากคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อให้คำวินิจฉัยเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และข้อโต้แย้งในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนี้ให้ฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองสูงสุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8012 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License