กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/801
ชื่อเรื่อง: ความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะคำศัพท์ นิยาม และการตีความทางกฎหมาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mental disorder in criminal law : terminology, definitions and interpretations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
สรวุฒิ เกษมสุข, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุพัตรา แผนวิชิต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
จิตผิดปกติ
กฎหมายอาญา
ความวิกลจริต
กฎหมายอาญา--การตีความ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคําศัพท์และความหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตในทางสังคม กฎหมาย และการแพทย์การใช้คําศัพท์ นิยาม การใช้และตีความทางกฎหมายเกี่ยวกับ ความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญาของไทยและต่างประเทศเพื่อเสนอแนวทางการใช้คําศัพท์ นิยาม แนวทางการใช้และตีความทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตในทางกฎหมายอาญา รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตํารา บทบัญญัติกฎหมาย แห่งรัฐ คําพิพากษา วิทยานิพนธ์ทางกฎหมาย บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางกฎหมายและทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิต ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า คําศัพท์ที่สําคัญในกฎหมายอาญาของไทยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตในกฎหมายอาญาของไทย ได้แก่ “วิกลจริต” หมายถึง การมีความสามารถในทางกฎหมายที่บกพร่อง ไม่สมบูรณ์เนื่องจากความผิดปกติทางจิต “โรคจิต” หมายถึง อาการของโรคจิตในทางจิตเวชศาสตร์ “จิตบกพร่อง” หมายถึงความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากความผิดปกติทางสมองและระบบประสาท และ “จิตฟั่นเฟือน” หมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นๆ นอกเหนือจากสองประเภทข้างต้น นิยามของความ ผิดปกติทางจิตในทางกฎหมายอาญาหมายถึง ความสามารถในการรู้ผิดชอบหรือความสามารถในการบังคับตนเองที่บกพร่องไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีความผิดปกติทางจิต การตีความว่าเป็นความผิดปกติทางจิต หรือไม่ในทางกฎหมายอาญา ใช้ความเชื่อทางสังคม พยานหลักฐาน ประกอบกบหลักเหตุผลในทางกฎหมายและใช้หลักการพิสูจน์เจตนาจากความสามารถในการรู้ผิดชอบและความสามารถในการบังคับตนเองการวิจัยนี้มีข้อเสนอว่าในกฎหมายอาญาควรใช้คําที่มีความหมายถึงความผิดปกติทางจิตเพียงแบบเดียว ควรใช้นิยามของความผิดปกติทางจิตตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 แต่ไม่ควรรวมไปถึง ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากสารเสพติด ความรับผิดทางอาญาควรพิจารณาจากความสามารถโดยรวม ในการแสดงเจตนาของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตและควรนําวิธีการอื่นที่เหมาะสมมาใช้เสริมหรือทดแทน โทษทางอาญา โดยเฉพาะการบําบัดรักษาอยางเหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesebib158658.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons