Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8021
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Factors affecting customers' usage credit card behavior of Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives in Mahasarakarm Province
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ,อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวัลย์ แสงบุตร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
สินเชื่อเกษตร--ไทย--มหาสารคาม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม และ (2) ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ได้รับบัตรสินเชื่อเกษตรกรลูกค้ากับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม โดยไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม มีความถี่ในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร 2-3 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรส่วนมากใช้ในช่วงสาย เวลา 09.01-12.00 น. สินค้า ที่ซื้อผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นปุ๋ย การใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อสินค้าผ่านบัตรสินเชื่อ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วงเงินประมาณ 1,000-3,000 บาทต่อครั้ง เหตุผลในการตัดสินใจใช้บัตรสินเชื่อ เกษตรกรคือ มีสินค้าตามต้องการ และ (2) ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตร สินเชื่อเกษตรกรของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดจำหน่าย และด้านลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อ พฤติกรรมมากตามลำดับ ส่วนด้านที่มีผลต่อพฤติกรรมน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8021
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_141027.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons