กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8029
ชื่อเรื่อง: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีสัญญาทางปกครองโดยศาลปกครอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The mediation in administrative cases by the Administrative Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุกฤษฏ์ ตัณตรีบูรณ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
การไกล่เกลี่ย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีสัญญาทางปกครองโดยศาลปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวความคิด ทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง (2) แนวความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองในระบบกฎหมายประเทศไทย โดยเฉพาะสัญญาทางปกครอง (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการนำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และ (4) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในส่วนที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากตำรา บทความ เอกสารวิจัย วารสารทางกฎหมาย คำพิพากษาของศาล กฎหมายต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลปกครองดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีปกครองเพื่อให้คู่ความประนีประนอมยอมความกัน ศาลปกครองจึงไม่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีปกครองได้ ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาทในคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ศึกษา มีความเห็นว่า ควรให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง โดยศาลปกครองอาจให้ตุลาการศาลปกครองเป็นผู้ไกล่เกลี่ยก็ได้ แต่ตุลาการศาลปกครองที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยไม่ควรจะเป็นตุลาการคนเดียวกับตุลาการที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น และเมื่อการไกล่เกลี่ยประสบผลสำเร็จ ข้อตกลงที่ได้จากการไกล่เกลี่ยอาจทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาตามยอมก็ได้ ทั้งนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางว่า ควรมีการยกร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดให้ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยคดีปกครองได้ แต่มีขอบเขต หรือข้อจำกัดให้ไกล่เกลี่ยได้เท่าที่คู่กรณีสามารถปฏิบัติการในเรื่องที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีได้ และจะต้องไม่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งกำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิพากษาตามยอมได้เมื่อพิจารณาเห็นว่า ข้อตกลงประนีประนอมยอมความของคู่กรณีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8029
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons