กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8031
ชื่อเรื่อง: | ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองในกรณีที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administrative action entry terms for administrative cases in the event of decision on ownership |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิราพร สุทันกิตระ เอกลักษณ์ สุวรรณชัย, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การฟ้อง กรรมสิทธิ์ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองในกรณีที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และลักษณะของการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับคดีปกครองที่มีประเด็นเกี่ยวพันกันเฉพาะกรณีที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิธีการศึกษาจะใช้การค้นคว้าวิจัยทางเอกสารเกี่ยวกับหลักเกณฑ์เรื่องอายุความหรือระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองและการใช้กรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับอายุความหรือระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง และหลักแห่งกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า การใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในคดีปกครอง ต้องเป็นการฟ้องคดีพิพาททางปกครองตามมาตรา 9 แห่ง พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยเป็นการฟ้องคดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะยื่นฟ้องคดี ซึ่งคำฟ้องมีลักษณะที่ผู้ฟ้องคดีนั้นเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิจากการเป็นเจ้าของโดยใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ที่มีข้อโต้แย้งกรรมสิทธิ์หรือขอให้ศาลรับรองสิทธิในทรัพย์สินนั้น ส่วนคำฟ้องที่ไม่ถือว่าประเด็นพิพาทหลักเป็นเรื่องของหลักกรรมสิทธิ์แต่คำฟ้องนั้นประเด็นพิพาทหลักเป็นกรณีพิพาททางปกครอง คำฟ้องนั้นจะมีลักษณะขอให้ศาลปกครองตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำทางปกครอง โดยมีคำขอท้ายท้ายฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนการกระทำการทางปกครอง ขอให้กระทำการตามหน้าที่ หรือขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างหรือไม่ได้อ้างอำนาจของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขอให้หน่วยงานทางปกครองนั้นคืนทรัพย์สินที่ยึดถือไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8031 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License