กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8035
ชื่อเรื่อง: | การขอรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Obtaining a compensation for violation according to the law on tort liability of officials |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช อุดม นันตา, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ค่าสินไหมทดแทน (กฎหมาย)--ไทย ความรับผิด (กฎหมาย)--ไทย ความรับผิดของราชการ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การขอรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขวิธีการเกี่ยวกับการขอรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 11 และกฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครอง เยียวยาความเสียหาย ด้วยความรวดเร็ว และเป็นธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตำรา บทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การยื่นคำขอรับค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานรัฐในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีขั้นตอนกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาตามปกติ 180 วัน และหากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดขออนุมัติขยายระยะเวลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดออกไปได้อีกไม่เกิน 180 วัน รวมระยะเวลาการพิจารณาของรัฐสูงสุด 360 วัน และเมื่อผู้เสียหายไม่พอใจในผลคำวินิจฉัยกฎหมายให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ภายใน 90 วัน นับว่าเป็นระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาค่อนข้างยาวนานและอำนาจในการพิจารณาเป็นอำนาจศาลปกครองและในระหว่างยื่นคำขอดังกล่าวอายุความละเมิดมิได้สะดุดหยุดลงแต่อย่างใด เห็นควรแก้ไขพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยบัญญัติ “ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันได้รับคำขอ หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนด ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 60 วันก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว คำสั่งเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ถือว่าไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง หากผู้เสียหายไม่พอใจในผลคำวินิจฉัยให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจในการพิจารณา โดยให้ฟ้องต่อศาลยุติธรรม ภายใน อายุความละเมิด และในระหว่างที่หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอก็ให้อายุความละเมิดสะดุดหยุดลง เพื่อให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8035 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License