Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเอกวัฒน์ จิตสำรวย, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-21T06:11:38Z-
dc.date.available2023-07-21T06:11:38Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8042-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด หลักการเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและมาตรการบังคับทางปกครอง ตลอดจนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการบังคับทางปกครองในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของไทย รวมถึงประเทศเยอรมัน และประเทศฝรั่งเศส สภาพปัญหาการบังคับทางปกครองของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ได้ศึกษาแนวทางการบังคับทางปกครองเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ละเมิดชดใช้เงินของส่วนราชการอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางแก้ปัญหาการบังคับทางปกครองให้เจ้าหน้าที่ผู้ละเมิดชดใช้เงินของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจาก เอกสาร บทความ รายงาน การวิจัย และตำรา ในทางกฎหมายมหาชน ประกอบกับข้อมูลที่ผู้ศึกษาได้รับจากประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน มาประกอบในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงแนวทางแก้ปัญหา ผลการศึกษาพบว่า การที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรประสบปัญหาการบังคับทางปกครองให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ชดใช้เงิน เนื่องจากไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการบังคับทางปกครอง ส่งผลให้เจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสนและเกิดการตีความในทางปฏิบัติ ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดขั้นตอนการใช้มาตรการบังคับทางปกครองไว้ไม่ชัดเจน เพราะให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมทำให้เกิดปัญหาการตีความในทางปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรมีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยการยกร่างระเบียบมาตรการบังคับทางปกครองของสำนักงานฯ ใช้บังคับ เพราะจากการศึกษาพบว่าในหลายส่วนราชการซึ่งประสบปัญหาการใช้บังคับทางปกครองในลักษณะเดียวกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ล้วนแต่ได้มีการร่างระเบียบมาตรการบังคับทางปกครองใช้บังคับ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะให้มีการร่างระเบียบมาตรการบังคับทางปกครองของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ใช้บังคับกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ชดใช้เงิน อันจะทำให้มีแนวปฏิบัติที่มีขั้นตอนชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539th_TH
dc.subjectการบังคับใช้กฎหมายth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการบังคับทางปกครองเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้เงิน : ศึกษากรณีสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรth_TH
dc.title.alternativeProblem of administrative enforcement on wrongdoing officials to compensate damages : a case study of the Secretariat of the House of Representativesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this Independent Study are to study the principle and theory of administrative orders and administrative enforcement measure, liability in tort of wrongdoing officials and administrative enforcement measure of administrative orders of administrative officials in Thailand, Germany and France, problem in enforcing administrative orders and measure of the Secretariat of the House of Representatives, and practice of administrative enforcement on wrongdoing official to compensate damages of other government agencies which can be guideline for future administrative enforcement on wrongdoing officials to pay damages to the Secretariat of the House of Representatives. This study is a qualitative, documentary study with collection and analysis of related textbooks, articles, reports and research on public law as well as application of the Author’s direct experience in administrative enforcement. The findings indicate that the procedure of the enforcement of administrative orders that is specified in section 57 of the Administrative Procedure Act, BE 2539 is not clear and refers to application of the civil procedure code which results in confusion and different interpretation of responsible officials and makes the Secretariat of the House of Representatives unable to enforce administrative orders on wrongdoing officials to pay damages. It is recommended to stipulate clear procedure of administrative enforcement of the Secretariat of the House of Representatives, as well as to set clear measure and regulation on the administrative enforcement of the Secretariat. It is also found that some other government agencies have the same problem of administrative enforcement and solve their problem by setting clear procedure, measure and regulation. The Author therefore recommends that the Secretariat of the House of Representatives should set clear procedure, measure and regulation to enforce an official who fails under the Liability of Wrongdoing Officials Act, BE 2539 to compensate their incurred damages in tort which will enable the Secretariat to enforce it effectivelyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons