กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/804
ชื่อเรื่อง: การลงโทษที่เหมาะสมกรณีผู้เสพยาเสพติด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Appropriate punishment in case of drug user
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
กรรณิกา สัมพันธ์พ่วง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
มาลี สุรเชษฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การติดยาเสพติด
การลงโทษ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การลงโทษที่เหมาะสมกรณีผู้เสพยาเสพติดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความรู้ทั่วไป และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้เสพยาเสพติด และศึกษาวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งกฎหมายของประเทศไทย และ กฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบและหาแนวทางในการลงโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยอันจะนำไปสู่การลดจำนวน ของผู้กระทำผิดฐานเป็นผู้เสพและเพื่อลดจำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายพระราชบัญญัตฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ไม่ให้กลับมากระทำความผิดซ้ำอีก การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้แก่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงาน การวิจัย รวมถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัตฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้เสพยาเสพติด พ.ศ. 2545 นั้นเป็นรูปแบบการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูเพียงด้านเดียวไม่อาจเป็นผลให้ จำนวนผู้เสพลดลงได้ อีกทั้งวัตถุประสงค์ของการลงโทษนั้นควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการป้องกันสังคม การลงโทษจึงควรมีผลเป็นการเลิกเสพอย่างถาวรของผู้ที่ผ่านการบำบัด และป้องปรามผู้ที่คิดจะเป็นผู้เสพรายใหม่ เมื่อศึกษารูปแบบการลงโทษผู้เสพยาเสพติดของต่างประเทศจะเห็นได้ว่า การลงโทษกลุ่มผู้เสพของต่างประเทศเป็นการลงโทษที่ใช้ทฤษฎีแบบผสมกล่าวคือเป็นการลงโทษแบบแก้ไขฟื้นฟู กับการลงโทษเพื่อข่มขู่ยั้บยั้ง เช่นการลงโทษของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้สามารถลดจำนวนผู้เสพได้จริงผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการลงโทษกลุ่มผู้เสพในกฎหมาย พระราชบัญญัตฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ให้มีบทลงโทษเพื่อเป็นการแก้ไขฟื้นฟูในครั้งแรกและครั้งที่สองเท่านั้นโดยกำหนดไว้ใน มาตรา 19 ตามพระราชบัญญัตฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 หากมีการกระทำความผิดเป็นครั้งที่สามต้องมีการกำหนดโทษที่หนักขึ้น และ ต้องมีการกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ดูแล ติดตามผู้เสพหลังผ่านการบำบัดเป็นการเฉพาะ เพื่อมิให้ผู้เสพที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาเสพซ้ำอีกและเป็นการลดจำนวนกลุ่มผู้เสพให้ได้อย่างแท้จริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/804
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbob137706.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons