Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8050
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณวิภา เมืองถํ้า | th_TH |
dc.contributor.author | กฤษฎา เจือละออง, 2532- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-21T06:30:28Z | - |
dc.date.available | 2023-07-21T06:30:28Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8050 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา บทบาทของหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองพยาน เพื่อศึกษาเงื่อนไขและวิธีดำเนินการคุ้มครองพยานโดยใช้มาตรการพิเศษ รวมทั้งระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องและศึกษาการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการพิเศษมาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีทุจริต และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากตำรา หนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการพิเศษมาใช้ในคดีทุจริตเกิดจากปัญหาการไม่บัญญัติเรื่องการคุ้มครองพยานในกรณีเร่งด่วนไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ปัญหาการกำหนดตัวบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง การกำหนดคดีความผิดที่ได้รับความคุ้มครอง การกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครอง และการขอให้ความคุ้มครองบุคคลอื่นๆ นอกจากพยานร้องขอ ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ยังไม่มีความเหมาะสม ปัญหาการไม่บัญญัติบทลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาที่ขัดขวางการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองบุคคลผู้ที่กำลังจะเปิดเผยข้อมูลไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และปัญหาในทางปฏิบัติกรณีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลของพยาน ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้บัญญัติเพิ่มเติมกรณีการคุ้มครองพยานกรณีจำเป็นเร่งด่วนไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 6/1 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 3, 8 และ 10 บัญญัติเรื่องบทลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาที่ขัดขวางการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองบุคคลผู้ที่กำลังจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103/2 และมาตรา 120/1 และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 53 และมาตรา 64/1 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 10 เกี่ยวกับการประสานให้เปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้พยานที่กระทำต่อเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานอื่นใด มิให้ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิด และเจ้าพนักงานได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา ทางแพ่งและทางวินัย | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | พยานหลักฐาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม | th_TH |
dc.title | ปัญหาการนำมาตรการพิเศษตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีทุจริต | th_TH |
dc.title.alternative | Problem to implementation of the special measures under the witness protection act BE 2546 to protect witness in corruption case | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this independent study is to study about the rules and the concept relating to the witness protection in the criminal case, the role of the institute performing the mission concerning the witness protection in order to research the condition and process to protect the witness by the special measure including the regulations and the proclamation relating and to study the witness protection via the special measure in accordance with the international laws and the foreign laws for the purpose of research of the issues arising from the application of the special measure in the witness protection in corruption case and the law regarding the witness protection amendment guidelines. This independent study is the qualitative research by means of the documentary research from textbooks, books, the independent studies, researches, academic papers, articles, journals, the provisions of the law, the judgments, electronic data and other relating documents. Result of the research: the problems arising from the application of the special measures in the corruption case are resulted from there is none of the provision of the witness protection in emergency cases in the Witness Protection Act, B.E. 2546, the problems about the appointment of the person being protected, the determination of the offense being protected and the inappropriateness of the protection to other people other than the request from the witness in the Witness Protection Act, B.E. 2546, the problem that there is no provision of the discipline punishment to the officer obstructing the disclosure of the information and the protection of the person in the act of revealing the information in the organic law on counter corruption, B.E. 2542, and Executive Measures in Anti-Corruption Act B.E. 2551 and the problem arising from the practices about the witness’s name and surname changing. Therefore, the researcher suggests legislating the law regarding the witness protection in an emergency case in section 6/1 of the Witness Protection Act, B.E. 2546, amending section 3, 8 and 10 of the same Act, prescribing the provision of the discipline punishment to the officer obstructing the disclosure of the information and the protection of the person in the act of revealing the information in the section 103/2 and 120/1 of the organic law on counter corruption, B.E. 2542 and section 53 and 64/1 of Executive Measures in Anti-Corruption Act B.E. 2551 as well as amending section 10 of the Witness Protection Act, B.E. 2546 that the witness’s name and surname changing is not considered as an offence and the officer is exempted from the criminal, civil and discipline liability. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License