กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8050
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการนำมาตรการพิเศษตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีทุจริต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem to implementation of the special measures under the witness protection act BE 2546 to protect witness in corruption case
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถํ้า
กฤษฎา เจือละออง, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา บทบาทของหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองพยาน เพื่อศึกษาเงื่อนไขและวิธีดำเนินการคุ้มครองพยานโดยใช้มาตรการพิเศษ รวมทั้งระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องและศึกษาการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการพิเศษมาใช้ในการคุ้มครองพยานในคดีทุจริต และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากตำรา หนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการพิเศษมาใช้ในคดีทุจริตเกิดจากปัญหาการไม่บัญญัติเรื่องการคุ้มครองพยานในกรณีเร่งด่วนไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ปัญหาการกำหนดตัวบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง การกำหนดคดีความผิดที่ได้รับความคุ้มครอง การกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครอง และการขอให้ความคุ้มครองบุคคลอื่นๆ นอกจากพยานร้องขอ ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ยังไม่มีความเหมาะสม ปัญหาการไม่บัญญัติบทลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาที่ขัดขวางการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองบุคคลผู้ที่กำลังจะเปิดเผยข้อมูลไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และปัญหาในทางปฏิบัติกรณีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลของพยาน ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้บัญญัติเพิ่มเติมกรณีการคุ้มครองพยานกรณีจำเป็นเร่งด่วนไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 6/1 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 3, 8 และ 10 บัญญัติเรื่องบทลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาที่ขัดขวางการเปิดเผยข้อมูล และการให้ความคุ้มครองบุคคลผู้ที่กำลังจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103/2 และมาตรา 120/1 และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 53 และมาตรา 64/1 และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 10 เกี่ยวกับการประสานให้เปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้พยานที่กระทำต่อเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานอื่นใด มิให้ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิด และเจ้าพนักงานได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา ทางแพ่งและทางวินัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons