Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8054
Title: ปัญหาการดำเนินคดีและการใช้มาตรการพิเศษในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว
Other Titles: Problems of legal proceedings and application of special measure in legal proceedings of domestic violence
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัญกนิษฐ์ ฤทธิ์แสงจันทร์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรุนแรงในครอบครัว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ตัวบทกฎหมาย ตำรา หนังสือกฎหมายต่าง ๆ คำอธิบายกฎหมาย บทความ วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาระยะเวลาการดำเนินคดีในชั้นสอบสวน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 กำหนด ไว้นั้น ไม่สอดคล้องกับการดำเนินคดีด้วยความรวดเร็วในคดีความรุนแรงในครอบครัว อีกทั้งคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นไม่ได้มีลักษณะซับซ้อนจึงควรใช้เวลาที่รวดเร็ว จึงควรแก้ไขมาตรา 8 โดยกำหนดระยะเวลาการผัดฟ้องให้เป็นคราวละ 3 วันแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการกระบวนการจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในขณะที่พนักงานสอบสวนที่มีหน้าที่หลักในการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปที่มุ่งหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำความผิด แต่การสอบปากคำผู้กระทำความผิดคดีความรุนแรงในครอบครัวต้องมุ่งหาสาเหตุแห่งการกระทำผิดที่ได้กระทำต่อผู้ถูกกระทำ ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัว การที่พนักงานสอบสวนไม่เข้าใจเจตนารมณ์อย่างถ่องแท้อาจส่งผลให้การดำเนินคดีไม่ถูกต้อง ในขณะที่กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแนะนำและกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้เป็นพิเศษในการช่วยเหลือคู่สมรส เช่นนี้ควรกำหนดให้จัดพนักงานสอบสวนที่เชี่ยวชาญเฉพาะในการดำเนินคดี ปัญหาการตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ตามมาตรา 16 กำหนดว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้วแต่กรณีอาจตั้งผู้ประนีประนอม...” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลอาจตั้ง หรือไม่แต่งตั้งผู้ประนีประนอม หรือคณะบุคคล เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้มีการยอมความกันก็ได้ ในขณะที่มาตรา 11 กำหนดชัดเจนว่า “ให้ศาลมีอำนาจ” หมายความว่า ศาลจะต้องออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีบรรเทาทุกข์ แตกต่างกับมาตรา 16 จึงเห็นว่า สมควรที่จะกำหนดให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลในการแต่งตั้งผู้ประนีประนอม หรือคณะบุคคล เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้มีการยอมความกันก็ได้ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นต่อไป และประเด็นสุดท้ายพบว่าการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวนั้นนำวิธีการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยมาใช้นั้นอาจไม่เหมาะสม ควรนำมาตรการพิเศษในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวมาใช้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ โดยนำหลักการดำเนินมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาเป็นแนวทาง โดยเฉพาะเงื่อนไขในส่วนของ “ผู้กระทำความรุนแรงต้องสำนึกในการกระทำก่อนที่จะมีการฟ้องคดี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงต้องให้ความยินยอม” ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดและเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของสถาบันครอบครัวต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8054
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons