กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8063
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทจดทะเบียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors determining investing behavior in the Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม
ปาริชาติ มนูทัศน์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศันสนีย์ เทพปัญญา
อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การลงทุน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทจดทะเบียน (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทจดทะเบียน (3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรม ด้านการลงทุน มูลค่าการลงทุน และจำนวนหลักทรัพย์ที่เลือกลงทุนจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเคื่รองมือในการวิจัยกับบริษัทจดทะเบียน 397 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 92.75 ของบริษัทจดทะเบียน ทั้งสิ้น 428 บริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ไม่นับรวมบริษัทที่อยู่ในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการศึกษาข้อมูลทั่วไปของบริษัทจดทะเบียน พบว่ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์และะก่อสร้างมีจำนวนมากที่สุดและบริษัทส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท มีระยะเวลาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 11-15 ปี มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายย่อย 20-40 % และมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่างชาติต่ำกว่า 10% และผลจากการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทจดทะเบียน คือภาวะอุตสาหกรรมภาวะการเมือง และน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านสิทธิพิเศษทางภาษี โดยรายละเอียดบริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญมากที่สุดกับปัจจัยด้านภาวะหลักทรัพย์ ได้แก่ อัตราผลตอบแทน อัตราการเจริญเติบโตของบริษัท สำหรับปัจจัยอุตสาหกรรมได้แก่ ปัจจัย ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย ส่วนปัจจัยด้านการเมือง ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล (2) พฤติกรรมการลงทุนโดยรวมพบว่าบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 ไม่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีสาเหตุ คือ นโยบายและกฎระเบียบบริษัท และไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง โดยไม่แน่ใจว่าอนาคตจะลงทุน แต่สำหรับบริษัทที่ลงทุน ซึ่งมีร้อยละ 46.1 ได้ให้เหตุผลที่ลงทุน คือ นโยบายบริษัทและมีเงินออมเหลือ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือผลตอบแทนด้วยตัวเงิน รองลงมาคือเพื่อการผนึกกำลังทางธุรกิจ ส่วนใหญ่ลงทุนด้วยตนเองจากกำไรสะสม ลงทุนด้วยมูลค่าต่ำกว่า 5% ของสินทรัพย์สุทธิ และ ลงทุนในหลักทรัพย์ 1-5 ประเภท ในธุรกิจที่ต่างประเภทโดยสิ้นเชิงมากที่สุด ส่วนใหญ่ถือครองหลักทรัพย์มากกว่า 2 ปี และเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย และ บริษัทจดทะเบียนพึงพอใจในการลงทุนช่วงปี 2545-2548 (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการลงทุนจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของบริษัทจดทะเบียน พบว่ากลุ่มธุรกิจการเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากที่สุดดิดเป็น ร้อยละ 80.6 โดย ร้อยละ 19.4 ไม่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมลงทุนน้อยที่สุดร้อยละ 20 บริษัท ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 20,000 ด้านบาทลงทุนมากที่สุดร้อยละ 70.6 บริษัทที่มีระยะเวลาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 15 ปี ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 63.3 บริษัทที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 60% ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 56.4 และบริษัทที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่างชาติ 16-25% ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 55.6
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8063
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
97320.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons