กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8064
ชื่อเรื่อง: | ความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนในคดีอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Independence of criminal investigation officers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุจินตนา ชุมวิสูตร ธเนศ เปี่ยมสรศักดิ์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การสืบสวนคดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความไม่เป็นอิสระ ในการทำงานของพนักงานสอบสวนตามกฎหมายไทย ซึ่งหากพนักงานสอบสวนไม่มีความเป็นอิสระจะเกิดผลกระทบอย่างไร และความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนมีความสำคัญอย่างไร โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนต่างประเทศ ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ ตัวบทกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและข้อมูลทุติยภูมิ เช่น งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ ตำราวิชาการ กฎระเบียบเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา เพื่อรวบรวมประมวลเป็นข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกำหนดให้องค์กรศาล อัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความเป็นอิสระตามกฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีความเป็นอิสระในการทำงาน อันส่งผลกระทบต่อการสอบสวน ซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่ยอมรับและก่อความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8064 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License