กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8069
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรการศึกษานอกระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the non-formal basic education curriculum, B.E. 2551, at the upper secondary level of Krabi Provincial Office of the Non-formal and Informal Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย
สุปราณี จูฑามาตย์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี.
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--หลักสูตร--การประเมิน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย--กระบี่
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่ ในด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่สายสามัญ จำนวน 8 คน และครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 60 คน ศึกษาจาก ประชากรและนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 338 คน ได้มาโดยการลุ่มแบบแบ่งชั้น รวมทั้งสิ้น 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คำถามปลายเปิด และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แกความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ ยกเว้นในเรื่องครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ แผนการเรียนรู้ ความสะอาดของแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการเรียน การตอบสนองต่อความต้องการ ผู้รียนของรายวิชาเลือก มีความพร้อมในระดับปานกลาง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) กระบวนการใช้ หลักสูตร ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ทุกรายการ ยกเว้นในเรื่อง ครูควรมีรูปแบบ การจัดกิจกรรมหลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา ครูมีการนำผลจากการวัดผลมาใช้เป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์และ (3) ผลผลิตของหลักสูตร พบว่า ด้านความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนักศึกษาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นในเรื่องผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้สามารถ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 เพียงร้อยละ 55.82 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาผ่านเกณฑ์ประเมินระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 57.30 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8069
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_127750.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons