กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8070
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการซื้อขนมกรอบของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพิษณุโลก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Behavior of teenagers in Phitsanulok towards buying snack food products |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา ชาญ เพิ่มไทย, 2493- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์ ขนม พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- พิษณุโลก |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัด พิษณุโลกที่ชี้อขนมกรอบ (2) ศึกษาพฤติกรรมการชี้อขนมกรอบของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพิษณุโลก (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการชี้อขนมกรอบของกลุ่มวัยรุ่นใน จังหวัดพิษณุโลก วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นชายและหญิงในจังหวัดพิษณุโลก อายุ 12-21 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย 400 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนของประชากรวัยรุ่นกระจายไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 อำเภอ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย เป็นแบบสอบถามให้เลือกตอบ จากข้อคำถามทั้งหมด 37 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานที่ทั้งไว้โดยใข้วิธีของไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง เพศชาย อายุระหว่าง 12-14 ปี มากที่สุด (1) ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนรับประทานขนมกรอบ ซื้อขนมกรอบที่ร้านค้าใกล้บ้าน ความถี่ในการรับประทานขนมกรอบ 2-3 วันต่อครั้ง รับประทานขนมกรอบเพราะความอร่อย รับประทานขนมกรอบหลังอาหารกลางวัน ชอบขนมกรอบประเภทมันฝรั่งทอดกรอบ ให้ ความสำคัญกับวันผลิตและวันหมดอายุของขนมกรอบก่อนซื้อ เห็นว่าราคาขายของขนมกรอบมี ความเหมาะสม ผู้ขายขนมกรอมควรจัดวางขนมกรอนที่ผู้ซื้อจับเลือกได้ และการโฆษณา ขนมกรอบทางโทรทัศน์จูงใจในซื้อขนมกรอบ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อ ขนมกรอบของกลุ่มวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการชี้อขนมกรอบของกลุ่มวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8070 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License