กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8074
ชื่อเรื่อง: การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนบ้านท่าทราย (พวงสำลีราษฎร์อนุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of the career and technology learning area curriculm implementation at Ban Tasai (Phung Samli Rat Anusorn) school in Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพร ประสานแก้ว, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร.
การงานและอาชีพ--หลักสูตร.
การงานและอาชีพ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--สมุทรสาคร
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา.
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านท่าทราย (พวงสำลีราษฎร์อนุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร เกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตร กระบวนการใช้หลักสูตร และผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เบื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตร ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อการสอน และ อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสี่งอำนวยความสะดวกในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูผู้สอนผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านงบประมาณ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่าปัจจัยเบื้องด้นของการใช้หลักสูตร ได้แก่ บุคลากร เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อการสอน และอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสี่งอำนวย ความสะดวก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน (2) ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร ได้แก่ การบริหารจัดการ หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่ากระบวนการใช้หลักสูตร ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน และ การวัดและประเมินผล ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน และ (3) ด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้แก่ ผลสัมถุทธึ๋ ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128245.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons