Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8077
Title: การแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
Other Titles: The correction, Treatment, and Rehabilitation of the Juvenile and Family Court and Procedure act B.E. 2553 (2010)
Authors: วรรณวิภา เมืองถ้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันทนีย์ ทองธราพัชร์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
เยาวชน
เด็ก
การบำบัด
การฟื้นฟูสภาพจิตใจ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย และ (4) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง อนุสัญญา ข้อกำหนด กฎหมาย ระเบียบ ประกาศและเอกสารราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จากผลการศึกษาพบว่า (1) การแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามุ่งเน้นการคุ้มครองครองสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและหลักประโยชน์สูงสุด (2) ประเทศไทยและต่างประเทศมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่แตกต่างกัน (3) แม้ว่าพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มีเจตนารมณ์เพื่อแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่ได้กระทำความผิด โดยมีจุดมุ่งหมายให้เด็กและเยาวชนมีความประพฤติตนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มิต้องเข้าไปสู่กระบวนการฟ้องดำเนินคดี แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนของประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องหลายประการ และ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขบาบัดฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้ชัดเจนภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและตามหลักประโยชน์สูงสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8077
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม22.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons