กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8082
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behavior for fruit juice in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วารุณี วนะรมย์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
น้ำผลไม้
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสำคัญของส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบโควต้าจากประชากรที่บริโภคน้ำผลไม้ในย่านธุรกิจ การค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ได้จำนวนตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็น เครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าสถิติไคสแควร์ โดยใช้โประแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร คือ ผู้บริโภคซื้อและดื่มน้ำส้ม ประเภทน้ำผลไม้เข้มข้นที่นิยมบริโภค โดยมีวัตถุประสงค์ในการเลือกบริโภคเพื่อบำรุง สุขภาพ โดยเลือกซื้อและบริโภคน้ำผลไม้ที่มีตรายี่ห้อ และ ไม่มีตรายี่ห้อ ตราสินค้าที่นิยมดื่มคือยูนิฟ ผู้บริโภคซื้อ น้ำผลไม้เพื่อตนเอง หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อพิจารณาจากคุณค่าทางโภชนาการ ความถี่ในการบริโภคอยู่ในช่วง 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยซื้อที่ร้านศาลาโครงการหลวง และสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีผลต่อการซื้อน้ำผลไม้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 31 -40 ปี สถานภาพสมรส อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน (2) ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการ บริโภคน้ำผลไม้ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ในระดับมาก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงคุณค่าทาง โภชนาการ ด้านราคาโดยคำนึงถึงราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพ ด้านการจัดจำหน่ายโดยคำนึงถึงการหาซื้อได้ ง่ายทั่วไป และด้านส่งเสริมการตลาดโดยคำนึงถึงการส่งเสริมการขายในการเพิ่มปริมาณบรรจุราคาเท่าเดิม (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านประเภทน้ำผลไม้ วัตถุประสงค์ที่ บริโภค การเลือกซื้อน้ำผลไม้เพื่อใคร และความถี่ในการซื้อเพื่อบริโภค
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8082
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
97323.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons