กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8084
ชื่อเรื่อง: การประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนท่ายางวิทยา จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Evaluation of level 4 Thai Lanquage learning area school-based curriculum of Thayang Witthaya School in Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุณณิกา หอมหวล, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี.
การประเมินหลักสูตร
ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน--การประเมิน.
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา.
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนท่ายางวิทยา จังหวัดเพชรบุรี ในด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 4 คน และนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 191 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิชัยได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรา ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตรในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ด้านเนื้อหาวิชา และด้านเวลามีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านบุคลากรมีความพร้อมในระดับมาก ด้านเอกสาร ประกอบหลักสูตร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก มีความเพียงพอ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านสถานที่มีความเพียงพอในระดับปานกลาง (2) กระบวนการดำเนินการใช้หลักสูตรในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาครู ด้านการใช้สื่อและพัฒนาสึ่อ ด้านการวัดและประเมินผลและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน (3) ผลผลิตของการใช้หลักสูตร พบว่า ผลสัมฤทธิทางการเรียนระดับโรงเรียน (ว-NET) ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของการประเมินระดับประเทศ (O-NET) ระดับเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และระดับจังหวัด ส่วนด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์และการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8084
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128711.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons