กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8088
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฏหมายในการควบคุมการใช้สเปรย์พริกไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal control measure for using pepper spray
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกอร ภูวดลไพโรจน์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
สเปรย์พริกไทย
การป้องกันตัว (กฎหมาย)
การป้องกันตัว--เครื่องมือและอุปกรณ์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ทางกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาเกี่ยวกับสิทธิในการป้องกันตัว และหลักการกำหนดอัตราโทษ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสเปรย์พริกไทย เกี่ยวกับการครอบครองและพกพา (3) วิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการในการครอบครองและควบคุมการพกพาสเปรย์พริกไทย และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการครอบครองและพกพาสเปรย์พริกไทยที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำราทางวิชาการ วารสาร บทความ รายงานการวิจัย ตัวบทกฎหมาย รวมทั้งคาพิพากษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ทำการศึกษามาวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับ จะมีการกำหนดในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ โดยประชาชนทุกคนจะมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของตนเอง ผู้อื่นไม่สามารถมาละเมิดได้ แต่การจะลงโทษผู้กระทำผิดก็ต้องคำนึงถึงความหนัก-เบาของการกระทำความผิดเป็นสำคัญ (2) การกำหนดความผิดสำหรับการครอบครองสเปรย์พริกไทยถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้สารแคปไซซินที่เป็นส่วนประกอบในสเปรย์พริกไทยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามครอบครองโดยเด็ดขาด จึงทำให้สเปรย์พริกไทยถูกห้ามครอบครองตามกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน (3) ปัญหาที่พบจากการศึกษา พบว่าจากข้อเท็จจริงสเปรย์พริกไทยเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการป้องกันตัว และเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับใช้พกพาในการป้องกันตัว ประกอบกับการออกฤทธิ์ของสเปรย์พริกไทยไม่ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับสารถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารแคปไซซินในปริมาณที่ไม่มาก การกำหนดอัตราโทษของการครอบครองสเปรย์พริกไทยที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินเพียงเล็กน้อยและเพื่อใช้สอยส่วนตัวจึงไม่ควรที่จะกำหนดอัตราโทษเทียบเท่ากับการครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อีกทั้งบทกำหนดโทษของการใช้สเปรย์พริกไทยในทางที่ไม่ถูกต้อง ก็มีประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นบทกฎหมายในการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่มีความเหมาะสมและเพียงพออยู่แล้ว และ (4) ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้การครอบครองสเปรย์พริกไทยที่เป็นการใช้สอยส่วนบุคคลได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และกำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้พกพาและผู้จำหน่าย เพื่อควบคุมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมและเพื่อความปลอดภัยของประชาชนอีกทางหนึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8088
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons