Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8091
Title: | การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยที่สัมพันธ์กับสุขอนามัยและความต้องการที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Personal Factors and Residence Preparation Related with Healthcare and Needs for Elder House in Bangkok and Vicinity |
Authors: | อโณทัย งามวิชัยกิจ วิโรจน์ ตันสุวรรณนนท์, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--การเลือกตั้ง พฤติกรรมการเลือกตั้ง--ไทย--ศรีสะเกษ การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย--ศรีสะเกษ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาการนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุรวมถึง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยกับสภาวะสุขภาพอนามัย และความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยกับความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากประชากรจำนวนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร W.G. Cochran เลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ จำนวน 219 ชุด เก็บข้อมูลที่บ้านของผู้สูงวัย โดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบสมมติฐานแต่ละข้อเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเพื่อการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 60-64 ปีการศึกษาจบระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 30, 000 บาท สมาชิกในครอบครัว 2-4 คน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านส่วนใหญ่ 2-4 คน พบว่าปัญหาสุขภาพมักเกี่ยวกับสายตาพบว่าลักษณะที่อยู่อาศัยปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวกรรมสิทธิ์ โรคประจำตัวส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิต 2)ผลการทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมกับสภาวะสุขอนามัยโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ การเตรียมความพร้อมด้านลักษณะบ้านกับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ การเตรียมความพร้อมด้าน ห้องน้ำกับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและการเตรียมความพร้อมด้านห้องนอนกับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ด้านความต้องการที่อยู่อาศัย โดยรวมกับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและความต้องการที่อยู่อาศัยรวม (จำนวนชั้นกับห้องน้ำ) กับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ปัญหาสุขภาพด้านปัญหาสุขภาพผู้อยู่รวมกันอาศัยกับสภาวะสุขอนามัยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัญหาสุขภาพด้านปัญหาสุขภาพ ผู้อยู่ร่วมอาศัยกับความต้องการที่อยู่อาศัยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านลักษณะบ้านกับความต้องการที่อยู่อาศัยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ การเตรียมความพร้อมด้านห้องอาหารกับความต้องการที่อยู่อาศัยรวมมี ความสัมพันธ์กัน ในระดับต่ำและการเตรียมความพร้อมด้านห้องน้ำกับความต้องการที่อยู่อาศัยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8091 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_147245.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License