กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/810
ชื่อเรื่อง: | สมรรถนะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาสุขภาพประชาชนของหัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Competency of strategic management for population health development among health center chiefs in Buri Rum province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เยาวภา ติอัชสุวรรณ ธวัชชัย มากมน, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา ผลประเสริฐ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สุขภาพ--การมีส่วนร่วมของประชาชน หัวหน้าสถานีอนามัย--ไทย--บุรีรัมย์ หัวหน้าสถานีอนามัย--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรู้ เจตคติ และทักษะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาสุขภาพประชาชน และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการทำงานกับความรู้ เจตคติ และทักษะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาสุขภาพประชาชนของหัวหน้าสถานีอนามัย ประชากรในการวิจัย คือ หัวหน้าสถานีอนามัยที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 225 คน ทำการศึกษาทุกหน่วยของประชากร เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สำหรับส่วนที่ให้หัวหน้าสถานีอนามัยทำการประเมินตนเองในความรู้ เจตคติ และทักษะด้านการบริหารเชิงกลุยุทธ์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.957 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการประสานงานกับสาธารณสุขอำเภอ การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำโดย แสดงการพรรณนาข้อมูลด้วยร้อยละ ค่ากลาง และค่าการกระจายของข้อมูล แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) หัวหน้าสถานีอนามัยประเมินตนเองว่ามีความรู้และทักษะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีเจตคติด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงยกเว้นประเด็นการวางแผนกลยุทธ์ต้องใช้เวลามากและทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย และมีขั้นตอนมากจึงควรเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร และ (2) ตัวแปร เพศ อายุ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับทักษะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ การศึกษาต่อเนื่องมีความสัมพันธ์กับทักษะด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ประเภทตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับความรู้และเจตคติด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าสถานีอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ สนับสนุนการศึกษาต่อเนื่อง และพัฒนาความรู้และทักษะในการวิเคราะห์องค์กรแค่หัวหน้าสถานีอนามัยโดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิผล |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/810 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
122100.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License