กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8113
ชื่อเรื่อง: การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหนองศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of curriculum implementation in the Thai language learning area at the lower secondary level of Wat Nongsala School under Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย
นิลรัตน์ ปีมณี, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เกี่ยวกับความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตร ความเหมาะสม ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร และประสิทธิผลของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครู วิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จำนวน 67 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบบันทึกข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาวิชา เอกสารประกอบหลักสูตร บุคลากร งบประมาณ เวลา สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสี๋งอำนวยความสะดวกในภาพรวมและรายด้านตามความคิดเห็นของครูมีความพร้อมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีความพร้อมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ความเหมาะสมด้านกระบวนการใช้หลักสูตร ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อและพัฒนาสื่อ การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในภาพรวมและรายด้านตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนมีความเหมาะสมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (3) ประสิทธิผลของหลักสูตร ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินผลคุณภาพการศึกษา (NT) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะทางการเรียน(การอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน) ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2554 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (NT) สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะทางการเรียน(การอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8113
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_132480.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons