กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8115
ชื่อเรื่อง: การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An eveluation of curriculum implementation in the mathematics learning area at the lower secondary level of Tessaban Laem Chabang 3 School in Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุคนธรส เทียนวรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 จังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของการใช้หลักสูตร ความเหมาะสมของกระบวนการใช้หลักสูตร และประสิทธิผลของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 176 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ แบ่งชั้น เครื่องมือที่ใชัในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ งบประมาณ เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อการสอน อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสี่งอำนวยความสะดวก ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูผู้สอน มีความพร้อมระดับปานกลางไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำหรับด้านบุคลากร มีความพร้อมระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่าความพร้อมปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ บุคลากร เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อการสอน อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และสี่งอำนวยความสะดวก มีความพร้อมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน (2) ความเหมาะสมของกระบวนการใช้หลักสูตร ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และ การวัดและประเมินผล ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน มีความเหมาะสม ระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน และ (3) ประสิทธิผลของหลักสูตรนักเรียนส่วนใหญ่นำความรู้ เนื้อหาการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละมาใช้มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องความน่าจะเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผลการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8115
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_132493.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons