Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/811
Title: การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้น
Other Titles: Acceptance of forensic science evidence in case of bare footprints
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
กาญจณา สุขาบูรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วราภรณ์ วนาพิทักษ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
การพิสูจน์เอกลักษณ์
ลายฝ่าเท้า
พยานหลักฐาน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย เรื่อง การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้น มี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและความหมายเกี่ยวกับการได้มาและการรับฟัง พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้น (2) ศึกษาหลักการทางกฎหมายใน การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้นจากกฎหมายต่างประเทศ กับกฎหมายของประเทศไทยที่บังคับใช้ในปัจจุบัน (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการรับฟัง พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้นในประเทศไทย (4) นำผลการศึกษา มาจัดทำข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟัง พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ กรณีรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจ พิสูจน์สำหรับประเทศไทย การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร อันได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา พระราชกฤษฎีกา ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา บทความ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาคดีที่เกิดขึ้น จริงและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ผลการวิจัยผลการศึกษาวิจัย พบว่า รอยฝ่าเท้าทั้งที่ปรากฏรอยลายเส้นและไม่ปรากฏรอยลายเส้นเป็นพยานหลักฐานที่ตรวจพบได้ง่ายใน สถานที่เกิดเหตุ สามารถตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันเอกลักษณ์บุคคลได้จากความจริงสองประการ คือ ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน มีลักษณะพิเศษเฉพาะแตกต่างกันไปและไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดจนตาย การนำลายนิ้วมือฝ่ามือ ฝ่าเท้ามาใช้ในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจึงเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศทั่วโลก แต่จากการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยยังขาดการให้ความสนใจวิธี การตรวจพิสูจน์ เอกลักษณ์บุคคลด้วยรอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132/1, 226, 243 และ 244/1 การจัดตั้งองค์กร ตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ การกำหนดให้มีผู้ตรวจพิสูจน์รอยฝ่าเท้าที่ ไม่ปรากฏรอยลายเส้นเพื่อทำหน้าที่เบิกความเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในชั้นศาล วิธีการป้องกนและเก็บรักษารอยฝ่าเท้าที่ไม่ปรากฏรอยลายเส้นอย่างมีมาตรฐานตามกฎลูกโซ่แห่งการครอบครองวัตถุพยาน ซึ่งจะทำให้การสืบสวนสอบสวนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะใช้สนับสนุน หักล้างการ พิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ อันเป็นการสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายตามกระบวนการยุติธรรม ต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/811
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib159361.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons