Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8123
Title: | การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Development of management administration capabilities of the Office of Ratchathewi District, Bangkok Metropolitan Administration |
Authors: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ภาสกร เหมกรณ์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ กรุงเทพมหานคร. สำนักงานเขตราชเทวี--การบริหาร |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อขีดความสามารถ ปัญหา แนวทางการพัฒนา รวมทั้งเปรียบเทียบภาพรวมขีดความสามารถในการบริหารจัดการของสำนกงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยนำ PAMS-POSDCoRB ซึ่งประกอบด้วย 11 ด้าน ได้แก่ การบริหารนโยบาย (Policy) การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority)การบริหารคุณธรรม (Morality) การบริหารที่เกี่ยวกับสังคม (Society) การวางแผน (Planning)การจัดองค์การ (Organizing) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing) การอำนวยการ (Directing) การประสานงาน (Coordinating) การรายงาน (Reporting) และการงบประมาณ (Budgeting) มาเป็นกรอบแนวคิดในการรักษาการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบ (pretest) รวมทั้งผ่านการทดสอบหาความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการรระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2549 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2549 ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,052 คน คิดเป็นร้อยละ 88.33 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (1,191 คน) สำหรับสถิติที่ใช้ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า สำนักงานเขตราชเทวีมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการและเห็นด้วยในระดับมาก ว่า ขีดความสามารถในการบริหารจัดการของสำนักงานเขตราชเทวีมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการในปัจจุบันสูงกว่าในอดีต และสูงกว่าสำนักงานเขตอื่นสำหรับข้อเสนอแนะ เช่น สำนักงานเขตราชเทวีควรจัดการฝึกอบรมแก่ผูบริหารเรื่องการมอบอำนาจเพิ่มมากขึ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และลดสายการบังคับบัญชา นอกจากนี้ควรนำกรอบแนวคิด PAMS-POSDCoRB ไปปรับใช้ในการศึกษาวิจัยในอนาคต ซึ่งรวมทั้งในการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8123 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License