กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/812
ชื่อเรื่อง: | การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Primary health care service in public health center, health department, Bangkok Metropolitant Administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรเดช ประดิษฐบาทุกา ธิดารัตน์ จันทร์มณี, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร บริการการพยาบาล--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิชัยเชิงสำรวจนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการ และ ผู้ให้บริการ (2) การจัดองค์การของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (3) การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุขฯ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ และการจัดองค์การของศูนย์บริการสาธารณสุข กับ การให้บริการ ด้านการรักษาพยาบาลปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ชุด สำหรับผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ผู้รับบริการมีจำนวนตัวอย่าง 396 ราย และผู้ให้บริการมีจำนวนตัวอย่าง 120 ราย กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ ใช้การทดสอบไคสแควร์และการทดสอบสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพสมรสแล้วมีรายได้ระหว่าง 8,001 - 10,000 บาทต่อเดือนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาประกอบอาชีพพนักงานลูกจ้างบริษัทในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาเคยเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข ระยะทางที่มารับบริการ 1 -2 กิโลเมตร ส่วน ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 - 50 ปี สถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงาน 11 - 20 ปี เคยเข้ารับการศึกษาอบรมด้านการบริการสาธารณสุข (2) การจัดองค์การของศูนย์บริการสาธารณสุข อยู่ในระดับดี (3) การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานของบริการปฐมภูมิ อยู่ในระดับดี (4) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ได้แก่อายุ สถานภาพสมรส รายได้ อาชีพ ประสบการณ์การมารับบริการ และระยะทางที่มารับบริการของผู้รับบริการ และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ ได้แก่ สถานภาพสมรส และประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์ กับการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการจัดองค์การของศูนย์บริการสาธารณสุข ได้แก่ การกำหนดบทบาท การกำหนดกิจกรรม การรวบรวมงานที่คล้ายคลึงเข้าด้วยกัน การกระจายอำนาจหน้าที่ และ การประสานงานกันระหว่างฝ่ายต่างๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ ตามมาตรฐานของบริการปฐมภูมิ ทุก ๆ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ คือ กำหนดภาระงานให้ชัดเจน จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย เพียงพอ และควรประชาสัมพันธ์บริการนอกเวลาราชการให้ประชาชนทราบโดยทั่วไปให้มากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/812 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
114319.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License