กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8139
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Client satisfaction in universal coverage of health insurance at the Petchabun Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร เลิศโภคานนท์
นริศรา นีรคุปต์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โรงพยาบาลเพชรบูรณ์--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล--ไทย--เพชรบูรณ์
โรงพยาบาล--ไทย--เพชรบูรณ์
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สิ่งตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย ผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อายุระหว่าง 15 - 65 ปี จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยวางแนวคำถามตามข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้และถามประเด็นในกรอบความคิดการวิจัยแบบสอบถามเป็นคำถามแบบปลายปิด และใช้มาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ท ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาหาค่าทางสถิติพื้นฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ต่อมาตรฐานเบื้องต้นของสถานบริการสุขภาพและต่อคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก โดยเฉพาะในด้านความรู้ความสามารถในการให้บริการสุขภาพ ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่และในภาพรวมของโรงพยาบาล รวมทั้งในด้านความรู้สึกปลอดภัยอบอุ่นใจ มั่นใจ เมื่อข้ารับบริการกับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (2) การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าปัจัยส่วนบุคคลที่เข้ารับบริการกับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์มีผลต่อความพึงพอใจทั้งต่อมาตรฐานเบื้องต้นของสถานบริการสุขภาพและต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ แม้ผู้รับบริการจะมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและมาก แต่การพัฒนาคุณภาพควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการบริการสุขภาพและคุณภาพบริการเกี่ยวเนื่องกับขวัญกำลังใจของบุคลากร ควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรโดยการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8139
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltest_82073.pdfเอกสารฉบับเต็ม957.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons