กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/813
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to hemorrhagic fever disease control and prevention in the community by Village Health Volunteers in Phisalee District, Nakhon Sawan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม ธีร์ปนกรณ์ ศุภกิจโยธิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--นครสวรรค์ (ไพศาลี) |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส สถานภาพทางสังคม ระยะเวลาการเป็นอาสมัครสาธารณสุข ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (2) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สวัสดิการจากการเป็นอาสมัครสาธารณสุข การได้รับการฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน การสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง (3) ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ (4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยสนับสนุนความรู้และทัศนคติกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอไพศาล จังหวัดนครสวรรค์ การกำหนดตัวอย่างโดยการใช้สูตรของยามาเน่ โดยใช้วิธีการจับสลากรายชื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน จากหมู่บ้านทั้งหมด 101 จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ แบบเพียรสัน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.3 อายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 31-40 ปี จบการศึกษาระดับตํ่ากว่าประถมศึกษาลงมา ร้อยละ 66.0 มีอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 82.2 มีรายได้เฉลี่ย 30,001 -60,000 บาท/ปี มีสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 84.2 ไม่มีสถานภาพทางสังคมร้อยละ 52.1 มีระยะเวลาการเป็นอาสมัครสาธารณสุขระหว่าง 1-5 ปี (2) การสนับสบุนด้านสวัสดิการได้รับบัตรทองรักษาฟรี ร้อยละ100 ได้รับการการศึกษาดูงาน/ฝึกอบรม ร้อยละ 77.9 มีแรงสนับสนุนทางสังคมฯ ในระดับสูง (3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการปฏิบัติอยู่ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับสูง แต่มีทัศนคติเรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ เพศ (p-value < 0.05) รายได้ (p-value < 0.05 ) ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ( p-value < 0.05) อาชีพ (p-value < 0.01 ) และการสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (p-value < 0.01) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/813 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License